แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

ความรู้สุขภาพ – Page 5 – โรงพยาบาลราชวิถี

Category Archives: ความรู้สุขภาพ

  • -

ระวัง !! เชื้อดื้อยา

ระวัง !! เชื้อดื้อยา  thaihealth

       เคยสังเกตไหมว่า เป็นหวัดนิดหน่อย ท้องเสียบางวัน หรือหกล้มมีแผลสด หลายคนรีบถามหายาฆ่าเชื้อโดยทันที ทั้งที่อาการเหล่านี้ สามารถรักษาตามอาการและหายเองได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเหล่านั้น  มิหนำซ้ำหากรับงานฆ่าเชื้อโดยไม่สมเหตุสมผลหรือไม่จำเป็นอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยานั่นเอง

        เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพเป็นวิกฤตร่วมกันของทุกประเทศ มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาถึง 700,000 คนต่อปี ซึ่งประเทศไทย 38,000 คนต่อปี จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2562 ในคนไทยอายุมากกว่า 15 ปี 54 ล้านคน พบว่า มีความรู้และเข้าใจเรื่องเชื้อดื้อยา และยาต้านจุลชีพในระดับที่ดีพอ ประมาณ 13 ล้านคน สิ่งที่สำคัญคือการทำให้ประชาชนอีกกว่า 41 ล้านคนมีความรู้และเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในทุกภาคส่วนได้อย่างไร

        จึงเป็นที่มาของงานสัปดาห์ความตระหนักรู้เรื่องยาต้านจุลชีพโลก ปี 2563 (Thailand’s World Antimicrobial Awareness Week 2020) ที่มีขึ้นเมื่อ วันที่ 16-24 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา  จัดโดยกระทรวงสาธารณสุข สสส.และ 21 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ สมาคมและองค์กรวิชาชีพ เครือข่ายภาคประชาสังคม และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ

ระวัง !! เชื้อดื้อยา  thaihealth

             สืบเนื่องจากปัญหาว่าประเทศไทยและทั่วโลก เจอปัญหาของเชื้อดื้อยา ซึ่งถ้าเราไม่รีบจัดการต่อไปหากมีการติดเชื้อ เราจะไม่มียาใช้ และสูญเสียชีวิต ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สัปดาห์ตระหนักรู้เรื่องการใช้ยาจุลชีพ จัดเป็นประจำทุกปี  ถือเป็นการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในประเทศไทย ร่วมมือกับ WHO สิ่งที่ทำได้คือ มีแผนยุทธศาสตร์ของประเทศ เป็นกลไกเฝ้าระวัง งานวิชาการ การสื่อสารประชาสัมพันธ์และการออกกฎหมายควบคุมและกำกับ เป็นต้น โดยเน้นการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ไม่พร่ำเพรื่อ ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว  นั่นหมายถึง คน สิ่งแวดล้อม สัตว์ และอาหาร

           “ตอนนี้จะเห็นว่าเรามีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้กันอย่างกว้างขวาง ถือว่าเป็นสิ่งที่เราต้องทำคู่ขนานกับมาตรการและวิชาการ เพราะประชาชนคือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง และเป็นผู้ที่อาจทำให้เกิดการดื้อยาโดยเฉพาะเรื่องการใช้ยาผิด หลายๆ โรคไม่จำเป็นต้องใช้ยา เราต้องให้ประชาชนรู้ ตระหนักและก็พยายามปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง ตอนนี้เราเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น แต่ก็อย่าชะล่าใจ สสส.จึงต้องสื่อสารประชาสัมพันธ์ต่อ เรามีเดิมพันคือโรคติดเชื้อ ถ้าเราติดเชื้อไม่มียาฆ่าเชื้อ เราจะถึงวิกฤตของระบบสุขภาพได้อย่างแท้จริง” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

3 โรคพบบ่อย หายเองได้ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

1.โรคหวัด ไอ ไข้ไม่สูง ไม่เจ็บคอ ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ เพราะหวัดเกิดจากเชื้อไวรัสไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือ  ต้องทำร่างกายให้แข็งแรง โดยการดื่มน้ำอุ่นและพักผ่อนมากๆ  เพื่อให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้และหายได้เร็ว

2.ท้องเสีย ไม่มีไข้ ไม่มีมูกเลือด ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ เพราะท้องเสียส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย วิธีรักษาที่ดีที่สุด คือ ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่เสียไป เลือกทานอาหารอ่อนๆ งดอาหารรสจัดหรือย่อยยากและไม่ควรดื่มนม

3.แผลสด  แผลไม่ลึก ไม่สกปรกมาก ไม่ใช่แผลถูกกัด ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

           สสส.เป็นองค์กรที่สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รณรงค์สื่อสารการตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน ทั้งยังแสดงเจตนารมณ์ ในการดำเนินงานเรื่องนี้เพื่อนำสู่การลดการดื้อยาและให้ทุกคนมีสุขภาพดีทั่วกัน

ที่มา : www.thaihealth.or.th

Please follow and like us:

  • -

ป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองตีบ แตก ก่อนวัยด้วยอาหาร (ตอน 2)

อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Dietary for Stroke Prevention)

3. อาหารกลุ่มไขมัน

 • ไขมันที่ดีจากถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ อะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันคาโนลา น้ำมันเมล็ดชา

• ไขมันที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว ทั้งไขมันจากสัตว์และไขมันจากพืช เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นไขมันจากพืช แต่ไขมันอิ่มตัวเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เพิ่มไขมันที่ไม่ดี (LDL) และไขมันทรานส์ เป็นไขมันที่อันตรายที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากจะเพิ่มไขมันที่ไม่ดี (LDL) และลดไขมันดี (HDL) ในร่างกาย แม้ว่าปัจจุบันจะมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้มีไขมันทรานส์แล้ว แต่ไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนอย่างไร ก็ยังมีการนำไขมันอิ่มตัวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนยเทียม มาการีนหรือครีมเทียม ซึ่งหากร่างกายมีปริมาณไขมันที่ไม่ดี (LDL) มากขึ้นเรื่อยๆ จะไปอุดตันตามหลอดเลือดต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงหลอดเลือดสมองด้วย

4. อาหารจากธรรมชาติ ผ่านการปรุงแต่งน้อยจะมีโซเดียมไม่มากกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งจะช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ ส่งผลดีในการช่วยป้องกันหลอดเลือดสมองไม่ให้เกิดความเสียหายได้

นอกจากอาหารทั่วๆ ไปดังที่กล่าวมาข้างต้น การกินอาหารแบบ Mediterranean Diet ก็ได้รับการวิจัยว่าช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน

การกินแบบ Mediterranean Diet

จะเน้นกินพืชเป็นหลัก เป็นพืชไม่ขัดสี ข้าว ธัญพืชต่างๆ กินผัก ผลไม้

กลุ่มไขมันก็กินไขมันที่ดี เป็นกลุ่มโอเมก้า 9 ได้แก่ น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดชา น้ำมันคาโนลา รวมถึงพวกถั่วเปลือกแข็งต่างๆ

กลุ่มโอเมก้า 3 ได้แก่ พวกปลาทะเลน้ำลึก หรืออาจจะเป็นปลาไทยอย่างที่กล่าวไปข้างต้น โดยใน 1 สัปดาห์ ควรกินปลาอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ครั้งละ 100 กรัม เพื่อให้ได้กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่เพียงพอ เพราะกรดไขมันโอเมก้า 3 จะช่วยลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และช่วยป้องกันการอักเสบของหลอดเลือด

กลุ่มที่เน้นให้กินน้อย ได้แก่ กลุ่มของหวาน น้ำตาลขัด ไขมันอิ่มตัว และกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูป

นอกจากนี้ควรดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ส่วนอีกกลุ่มคือการกินแบบ DASH Diet จะช่วยในเรื่องความดันโลหิตสูง จากการวิจัยพบว่าทำให้ลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจได้

การกินแบบ DASH Diet ร่วมกับควบคุมปริมาณโซเดียมจากอาหาร

• เน้นกินพืช ธัญพืช ถั่วต่างๆ เน้นแร่ธาตุโพแทสเซียมที่ได้มาจากผัก ผลไม้ พืชประเภทหัว และแมกนีเซียม ซึ่งได้มาจากผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืช และดาร์กช็อกโกแลต รวมทั้งแร่ธาตุแคลเซียม ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม ปลาตัวเล็กตัวน้อย กุ้งฝอย งา เต้าหู้แข็ง

• กินโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เน้นกินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีการปรุงแต่งมาก หรืออาหารกึ่งสำเร็จรูปและอาหารสำเร็จรูป

นอกจากการกินอาหารที่แนะนำไปแล้ว ควรออกกำลังกายร่วมด้วย เพราะจะทำให้มีสุขภาพหลอดเลือดที่ดี ทั้งยังช่วยทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และควบคุมระดับความดันโลหิตสูง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง

__________________________________________

ที่มา : thairath.co.th

Please follow and like us:

  • -

ป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองตีบ แตก ก่อนวัยด้วยอาหาร (ตอน 1)

“โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)” คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อและเซลล์สมองถูกทำลายอันเนื่องมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตันหรือแตก ส่งผลให้เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตได้

 

ภาวะผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ 1.ภาวะที่สมองขาดเลือด ซึ่งอาจจะเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันหรือหลอดเลือดตีบ และ 2.ภาวะเลือดออกในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากหลอดเลือดฝอยฉีกขาด หรือหลอดเลือดโป่งพองแล้วแตกก็เป็นได้ ซึ่งล้วนทำให้สมองเกิดการเสียหาย ซึ่งหากเข้ารับการรักษาไม่ทันก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ พฤติกรรมต่างๆ ของคนเรานั่นเอง ได้แก่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป การสูบบุหรี่ คนที่มีภาวะอ้วน ก็จะเสี่ยงต่อการเกิด stroke มากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ กลุ่มคนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง น้ำตาลสูง ความดันโลหิตสูง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้หลอดเลือดเกิดการเสียหาย และอาจนำไปสู่การเป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตกได้

2. ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ได้แก่ เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง อายุที่มากขึ้น ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการเสียหาย รวมถึงพันธุกรรม ถ้ามีญาติพี่น้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมอง คุณก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหล่านี้ได้มากกว่าคนทั่วไป

อาการ

มีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง หรือมีการพูดไม่ชัด มีอาการชาครึ่งซีกบริเวณใบหน้า ซึ่งเป็นภาวะของอัมพฤกษ์ ในบางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นอัมพาต หรืออาจรุนแรงจนกระทั่งเสียชีวิตก็เป็นได้

การป้องกัน

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ ป้องกันจากปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ ดังนี้

• คนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน ควรควบคุมดูแลให้มีระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับปกติ
• ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเลิกสูบบุหรี่ เพราะทั้งสองปัจจัยนี้จะทำให้หลอดเลือดเกิดความเสียหายได้
• รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ
• กินอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยเน้นกลุ่มอาหารที่มีใยอาหารเป็นองค์ประกอบ เช่น ธัญพืชต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็ง ผักผลไม้ ลดหวาน เน้นโปรตีนจากพืชและปลา เน้นอาหารจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปและอาหารสำเร็จรูป และลดโซเดียมในอาหาร

• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• จัดการความเครียดเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือความวิตกกังวล

อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Dietary for Stroke Prevention)

อาหารประเภทโปรตีน

• เน้นกินปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ ปลาแม็คคลอเรล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน หรือจะเป็นปลาไทยๆ ก็ได้ เช่น ปลาจะละเม็ดขาว ปลากะพงขาว ปลาดุก ปลาสวาย ปลาทู ปลาสลิด ปลาตะเพียน เป็นต้น รวมทั้งโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้ นมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย

• หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป และเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ ลูกชิ้น ไข่เค็ม ปลาเค็ม

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

• เน้นคาร์โบไฮเดรตที่มีใยอาหารเป็นองค์ประกอบ เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ผักหลากหลายสี และผลไม้ไม่หวานจัด

• หลีกเลี่ยงหรือบริโภคเพียงเล็กน้อยในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตขัดขาว อาหารที่มีน้ำตาลสูง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง รวมถึงน้ำผลไม้ เพราะเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายดูดซึมได้ง่าย หากกินมากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง สะสมเป็นไขมันอยู่ตามหลอดเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอย่างต่อเนื่องจากการกินอาหารที่มีดัชนี้น้ำตาลสูงหรือคาร์โบไฮเดรตที่ขัดขาวหรือน้ำตาล จะทำให้หลอดเลือดแข็ง ขาดความยืดหยุ่น ซึ่งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

ยังมีความรู้เรื่อง “อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Dietary for Stroke Prevention)” อีก รอติดตามสัปดาห์หน้านะคะ

 

ที่มา :thairath.co.th

Please follow and like us:

  • -

วิธีการใช้ยาพ่นสูด

1.วิธีการใช้ยาพ่นสูด AccuhalerDownload

 

2.วิธีการใช้ยาพ่นสูด TurbuhalerDownload

 

3.วิธีการใช้ยาพ่นสูด BreezhalerDownload

 

4.วิธีการใช้ยาพ่นสูด HandihalerDownload

 

5.วิธีการใช้ยาพ่นสูด RespimatDownload

Please follow and like us:

  • -

แพทย์เตือน! อาหารเป็นพิษอันตรายที่มากับอาหาร

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์แนะประชาชนรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่  ปรุงอาหารหรือเก็บอาหารให้ถูกสุขอนามัย ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ เพื่ออนามัยที่ดีลดเสี่ยงปัญหาสุขภาพ

1560830427530

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า อาหารเป็นพิษเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สารพิษจากพืชและสัตว์ สารเคมีที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร อาหารกระป๋อง อาหารทะเลที่ปรุงไม่สุกพอ หรืออาหารที่ค้างไว้หลายชั่วโมง โดยผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 1 – 2 วัน หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิด ประเภท ปริมาณของเชื้อโรค และสารพิษที่ได้รับ ซึ่งทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีอาการสูญเสียน้ำ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ กระหายน้ำ เป็นต้น ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและหายได้ภายใน 1 – 2 วัน แต่หากเกิดอาการรุนแรงขึ้น เช่น ท้องเสียมาก อาเจียนมาก มีเลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ แขนขาอ่อนแรง หายใจลำบาก ตามัวมองเห็นไม่ชัด ปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมกับมีไข้สูง ควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่จนเป็นอันตรายได้ ทั้งนี้ อาหารเป็นพิษเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทยที่เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงควรระมัดระวังการรับประทานอาหารอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเกิดภาวะอาหารเป็นพิษ

288410

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการอาหารเป็นพิษผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการที่ไม่รุนแรง และดีขึ้นด้วยการดูแลตนเองที่บ้าน โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ 1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลร่างกายไม่ให้ขาดน้ำ ดื่มน้ำสะอาดมากๆ หรือจิบน้ำบ่อยๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากการอาเจียนและท้องเสีย 2. ดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ ที่มีเกลือและน้ำตาลกลูโคสเป็นส่วนประกอบหลัก เพื่อทดแทนน้ำและแร่ธาตุบางชนิดที่สูญเสียไป โดยจิบทีละน้อยตลอดวัน 3. รับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม งดอาหารเผ็ดและย่อยยาก 4. รับประทานยาแก้ท้องเสีย โดยผู้ป่วยควรรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ทั้งนี้ เราสามารถป้องกันตนเองจากภาวะ “อาหารเป็นพิษ” ได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด เลือกร้านอาหารที่ไว้ใจได้ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารค้างคืน หากทำกับข้าวเองควรเลือกวัตถุดิบที่เป็นของสดใหม่ เก็บใส่ตู้เย็นแยกเป็นหมวดหมู่ ที่สำคัญคือการล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพียงเท่านี้ก็จะสามารถป้องกันตนเองจากภาวะอาหารเป็นพิษได้

untitled-1

%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a9

************************************************

#กรมการแพทย์  #รพราชวิถี  #อาหารเป็นพิษ

– ขอขอบคุณ –
27 พฤษภาคม 2563

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility