แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

นโยบายความเป็นส่วนตัว(Privacy Policy) – โรงพยาบาลราชวิถี

นโยบายความเป็นส่วนตัว(Privacy Policy)

logo150x150
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

โรงพยาบาลราชวิถี ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลอื่นเกี่ยวกับท่าน (รวมเรียกว่า “ข้อมูล”) เพื่อให้ท่านสามารถเชื่อมั่นได้ว่า โรงพยาบาลราชวิถี มีความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลของท่านตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”) รวมถึงกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง นโนบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (“นโยบาย”) นี้จึงได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อชี้แจงแก่ท่านถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผย (รวมเรียกว่า “ประมวลผล”) ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งดำเนินการโดย โรงพยาบาลราชวิถี รวมถึงเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องผู้ดำเนินการแทนหรือในนามของโรงพยาบาล โดยมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้

1. คำนิยาม

“โรงพยาบาลฯ” หมายถึง โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่า ทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
“ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลลายนิ้วมือ ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ข้อมูลภาพจำลองม่านตา) หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
“การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง การดำเนินการใด ๆ กับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เก็บรวบรวม บันทึก สำเนา จัดระเบียบ เก็บรักษา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ใช้ กู้คืน เปิดเผย ส่งต่อ เผยแพร่ โอน รวม ลบ ทำลาย เป็นต้น
“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

2. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

โรงพยาบาลฯ เก็บรวมหรือได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่างๆ จากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
1) ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลฯ เก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงในช่องทางให้บริการต่างๆ เช่น ขั้นตอนการสมัคร ลงทะเบียน การลงทะเบียนเข้ารับบริการตรวจและรักษาโรคไม่ว่าจะด้วยตนเอง หรือผ่านช่องทางออนไลน์ สมัครงาน ลงนามในสัญญา เอกสาร ทำแบบสำรวจ หรือช่องทางให้บริการอื่นที่ควบคุมดูแลโดยโรงพยาบาลฯ หรือเมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลติดต่อสื่อสารกับโรงพยาบาลฯ ณ ที่ทำการหรือผ่านช่องทางติดต่ออื่นที่ควบคุมดูแลโดยโรงพยาบาลฯ เป็นต้น
2) ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลฯ เก็บรวมโดยทางอ้อม ได้แก่ บุคคลที่มีความใกล้ชิดกับท่าน เช่น ญาติ คู่สมรส บุคคลที่ท่านมอบอำนาจให้ดำเนินการแทนตัวท่านในการติดต่อกับโรงพยาบาลฯ สถานพยาบาลอื่น ในกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับสถานพยาบาลนั้นๆว่าให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจ ที่เป็นผู้ส่งท่านมาตรวจรักษากับโรงพยาบาลฯ หรือเป็นผู้ชำระค่าบริการตรวจรักษาให้กับท่าน
3) ข้อมูลที่โรงพยาบาลฯ เก็บรวบรวมจากการที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเข้าใช้งานเว็บไซต์ หรือบริการอื่นๆ ตามสัญญาหรือตามพันธกิจ เช่น การติดตามพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ หรือบริการของโรงพยาบาลฯ ด้วยการใช้คุกกี้ (Cookies) หรือจากซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
4) ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลฯ เก็บรวบรวมจากแหล่งอื่นนอกจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยที่แหล่งข้อมูลดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ มีเหตุผลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วในการเปิดเผยข้อมูลแก่ โรงพยาบาลฯ เช่น การเชื่อมโยงบริการดิจิทัลของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการเพื่อประโยชน์สาธารณะแบบเบ็ดเสร็จแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเอง การรับข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นในฐานะที่ โรงพยาบาลฯ มีหน้าที่ตามพันธกิจในการดำเนินการจัดให้มีศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในการให้บริการประชาชนผ่านระบบดิจิทัล รวมถึงจากความจำเป็นเพื่อให้บริการตามสัญญาที่อาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานคู่สัญญาได้

นอกจากนี้ ยังหมายความรวมถึงกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกแก่ โรงพยาบาลฯ ดังนี้ ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดตามนโยบายนี้หรือประกาศของบริการ ตามแต่กรณี ให้บุคคลดังกล่าวทราบ ตลอดจนขอความยินยอมจากบุคคลนั้นหากเป็นกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลแก่ โรงพยาบาลฯ
ทั้งนี้ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธไม่ให้ข้อมูลที่มีความจำเป็นในการให้บริการของโรงพยาบาลฯ อาจเป็นผลให้โรงพยาบาลฯ ไม่สามารถให้บริการได้อย่างถูกต้องแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้ทั้งหมดหรือบางส่วน

3. ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลฯ เก็บรวบรวม

ข้อมูลที่โรงพยาบาลฯเก็บรวบรวม สามารถจำแนกออกเป็นประเภทดังต่อไปนี้

ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล

รายละเอียด

1. ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด รูปถ่ายใบหน้า เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง หรือหมายเลขที่ระบุตัวตนอื่นๆ
2. ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ อีเมล์
3. ข้อมูลเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค/ เพื่อติดตามการรักษา เช่น ข้อมูลการรักษาพยาบาล รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ การวินิจฉัย ชื่อโรคที่ได้รับการวินิจฉัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา รายการยาที่แพทย์ได้สั่ง ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการ ผลเลือด ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ภาพถ่ายทางรังสีวิทยาและรายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยา ข้อมูลที่จำเป็นต่อการให้บริการทางการแพทย์และการรักษา ข้อมูลผลการรักษา ข้อมูลคำแนะนำในการรักษาและปฏิบัติตัวระหว่างการรักษา ข้อมูลปัจจัยเสี่ยง ข้อมูลการประสบอุบัติเหตุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต การบริโภค หรือพฤติกรรมการนอน รวมไปถึงการถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือการกระทำใดๆ ตามหลักวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
4. ข้อมูลอ่อนไหว เช่น ศาสนา ข้อมูลสุขภาพ รวมถึง หมู่โลหิต ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการรักษาพยาบาล ประวัติการแพ้ยาหรือแพ้อาหาร ประวัติการพบแพทย์เวชกรรม แพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ประวัติทันตกรรม ประวัติกายภาพบำบัด ความต้องการพิเศษในการรักษาพยาบาล ข้อมูลชีวภาพ เช่น ข้อมูลพันธุกรรม พฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น
5. ข้อมูลการเงิน เช่น สิทธิ์การรักษา ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเคบิต รายละเอียดบัญชีธนาคาร ข้อมูลเงินเดือน ข้อมูลใบเสร็จ ข้อมูลใบราคา ข้อมูลสังคมสงเคราะห์
6. ข้อมูลสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาล เช่น สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม สวัสดิการราชการ หรือ สวัสดิการอื่นๆ การประกันสุขภาพและประกันภัย
7. ข้อมูลสถิติ (Statistical data) เช่น ข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน จำนวนผู้ป่วย และจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์
8. ข้อมูลการสมัครข่าวสารและการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด (Marketing data) เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด
9. ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ (Technical data) เช่น หมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ ชนิดของบราวเซอร์ข้อมูล Cookies การตั้งค่าเรื่องเขตเวลา (time zone) ระบบปฏิบัติการ แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ใช้เข้าเว็บไซต์ และระบบการนัดหมายผู้ป่วย
10. ข้อมูลบัญชีผู้ใช้ เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน ที่ใช้เพื่อการเข้าถึงเว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชั่น
11. ข้อมูลอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการให้บริการสุขภาพและเพื่อการดูแลสุขภาพของเจ้าของข้อมูล


Accessibility