แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

ความรู้สุขภาพ – โรงพยาบาลราชวิถี

Category Archives: ความรู้สุขภาพ

  • -

กรมการแพทย์ จัดกิจกรรมเนื่องใน วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก (World Prematurity Day) 17 พฤศจิกายน 2566

กรมการแพทย์ โดย โรงพยาบาลราชวิถี ร่วมกับ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และเครือข่ายโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการมีบุตรและเพิ่มอัตราการเกิดของเด็กมีคุณภาพ กรมการแพทย์ จัดกิจกรรม วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก (World Prematurity Day) วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 โดยมี นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และ ผศ.(พิเศษ) นพ.สุเพ็ชร ทุ้ยแป หัวหน้ากลุ่มงานสูตินรีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวรายงาน ณ โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อรณรงค์และให้ความรู้ในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดแก่หญิงตั้งครรภ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกคลอด เพื่อร่วมส่งมอบเด็กคุณภาพสู่ครอบครัว

693230

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ วันที่ 17 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น World Prematurity Day หรือ วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก เพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความตระหนักและความเห็นอกเห็นใจแก่เด็กเกิดก่อนกำหนดและครอบครัว โดยในปี 2023 นี้ เป็น Theme เรื่อง “Small Actions, BIG IMPACT : Immediate skin-to-skin care for every baby everywhere” เน้นย้ำการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อระหว่างมารดากับทารกตั้งแต่แรกเกิด ทั้งนี้ การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกแรกคลอดเสียชีวิต ส่วนทารกที่รอดชีวิตอาจมีภาวะทุพพลภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามมาได้ ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบกับทารก แต่ยังส่งผลถึงครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้ทรัพยากรในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

line_album_%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81_%e0%b9%92

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวต่อว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่าในปี 2563 มีทารกคลอดก่อนกำหนด 13.4 ล้านคน เทียบเท่าเท่ากับว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนดหนึ่งรายในทารกที่คลอดทุกๆ 10 ราย สำหรับประเทศไทยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในปีงบประมาณ 2566 พบว่าอัตราทารกคลอดก่อนกำหนดอยู่ที่ร้อยละ 10.4 คาดว่าจะมีเด็กคลอดก่อนกำหนดในประเทศไทยประมาณ 50,000 คนต่อปี การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด ปัจจุบันพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนดและตรวจพบปากมดลูกสั้นจะมีความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ควรมาฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เพื่อให้สูติแพทย์ตรวจคัดกรองและให้การป้องกันในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงเพื่อลดภาวะทุพพลภาพหรือการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดลงให้ได้มากที่สุด

ผศ.(พิเศษ) พญ.เด่นนพพร สุดใจ หัวหน้างานเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นการให้ความรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนด ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการมีบุตรเพื่อลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด สัญญาณเตือนของการคลอดก่อนกำหนด การดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด และเมื่อมีภาวะคลอดก่อนกำหนดขึ้นแล้วจะปฏิบัติตัวอย่างไร รวมทั้งการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดอย่างไร นอกจากนี้ยังมีการจัดเสวนาร่วมกันทั้งสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์โรงพยาบาลราชวิถี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิดจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กับคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์และมีภาวะคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นแล้วผ่านวิกฤตินี้ไปได้อย่างไรอีกด้วย

**************************************

#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก

– ขอขอบคุณ –

17 พฤศจิกายน 2566

line_album_%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81_%e0%b9%92

line_album_%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81_%e0%b9%92

Please follow and like us:

  • -

รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์ “เปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตร” นำร่องแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ได้เปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตร โดยมี นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี และ แพทย์หญิงพิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ ร่วมเปิดงาน เพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ

683667

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวและมีปัญหาประชากรเกิดน้อย โดยสาเหตุหลักเป็นผลมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และค่านิยมการมีบุตรที่เปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการมีบุตรของ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทางกรมการแพทย์โดยโรงพยาบาลราชวิถีได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และได้จัดให้มีคลินิกส่งเสริมการมีบุตรโดยมุ่งเน้นให้บริการเชิงรุกในคู่สมรสที่เพิ่งแต่งงานเป็นหลัก เนื่องจากครอบคลุมกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ที่ยังมีอายุไม่มากเกินไป มีสุขภาพที่ดี และมีโอกาสที่จะมีบุตรที่มีคุณภาพ ส่วนการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากจัดเป็นประเด็นสำคัญในลำดับถัดมาเนื่องจากครอบคลุมกลุ่มประชากรที่มีจำนวนไม่มาก และสามารถเข้ารับบริการที่คลินิกรักษาผู้มีบุตรยากของทางโรงพยาบาลอยู่แล้ว

นอกจากนี้ กรมการแพทย์ยังได้มอบหมายให้โรงพยาบาลราชวิถีจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจน้ำอสุจิ การเตรียมน้ำอสุจิเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก และการฉีดน้ำอสุจิเข้าโพรงมดลูก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน สามารถให้บริการได้ที่โรงพยาบาลขนาดเล็กโดยสูตินรีแพทย์ทั่วไป และมีราคาที่ไม่แพง เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงของประชาชนอีกด้วย

683668
นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ โรงพยาบาลราชวิถีจึงได้จัดให้มีบริการตรวจสุขภาพของคลินิกส่งเสริมการมีบุตร ฟรี! จำนวน 50 คู่ โดยคู่สมรสสามารถโทรเข้ามาที่ศูนย์ประสานงานเพื่อนัดคิวตรวจ และทำบัตรโรงพยาบาลผ่านระบบออนไลน์ เมื่อถึงวันที่มาตรวจคู่สมรสสามารถมารับการตรวจแบบ one stop service ได้ที่คลินิกส่งเสริมการมีบุตร ชั้น 6 อาคาร ทศมินทราธิราช โดยจะมีการตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ และพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ สำหรับผลการตรวจเลือดบางชนิดที่ต้องรอระยะเวลาในการตรวจมากกว่า 1 วัน ผู้ที่มาตรวจจะได้รับการแจ้งผลเลือดผ่านระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)

s__149889039_0

นายแพทย์ทรงพล พุทธศิริ หัวหน้างานเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลราชวิถี ได้หยุดให้บริการทำเด็กหลอดแก้วไปช่วงหนึ่ง โดยในปัจจุบันได้ย้ายมาเปิดดำเนินการที่ชั้น 6 อาคารทศมินทราธิราช และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การแพทย์เพื่อการมีบุตร” สำหรับให้บริการตรวจรักษาภาวะมีบุตรยากที่ครอบคลุมทุกระดับ ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก การฉีดน้ำอสุจิเข้าโพรงมดลูก การทำเด็กหลอดแก้ว การแช่แข็งตัวอ่อนและเซลล์สืบพันธุ์ นอกจากนี้เพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบายของกรมการแพทย์ที่ต้องการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ ทางหน่วยเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์จึงได้เปิดให้บริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตรเพื่อเตรียมตัวคู่สมรสให้มีความพร้อมในการมีบุตรในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมด้วย

**************************************

#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #คลินิกส่งเสริมการมีบุตร
– ขอขอบคุณ –
13 พฤศจิกายน 2566

**************************************

รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์ “เปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตร” นำร่องแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ อ่านต่อที่ https://shorturl.asia/k2UWp

%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%81

683652

2

Please follow and like us:

  • -

กรมการแพทย์แนะแนวทางห่างไกลโรคไข้หวัดใหญ่

กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลราชวิถี ชี้  “ไข้หวัดใหญ่” เกิดจากการติดเชื้ออินฟลูเอนซ่า (Influenza Virus) เป็นโรคที่สามารถพบได้ตลอดปี และระบาดในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน โดยเฉพาะในฤดูหนาวและฤดูฝนที่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี พร้อมแนะควรใส่หน้ากากอนามัยหากไปในสถานที่แออัดหรือเสี่ยงติดเชื้อโรค

611717

นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ไวรัสอินฟลูเอนซ่า (Influenza virus) สามารถจำแนกออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี ซีและดี โดยชนิดเอ และบี มักก่อให้เกิดไข้หวัดตามฤดูกาล ผู้ป่วยอาจมีอาการเริ่มต้นเหมือนไข้หวัดทั่วไป ( Common cold)  ส่วนใหญ่สามารถหายได้ใน 1-2 สัปดาห์แต่บางรายอาจมีความรุนแรงทำให้เกิดปอดอักเสบและเสียชีวิตได้โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะคล้ายคลึงกับไข้หวัดทั่วไปคือ ติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วยที่ไอหรือจาม และการสัมผัสมือหรือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ โทรศัพท์ ของเล่น รีโมทโทรทัศน์ เมื่อใช้มือมาขยี้ตา แคะจมูก เชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยง่าย

611718

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่มักแสดงอาการที่อาจทำให้ท่านสับสนกับไข้หวัดทั่วไป โดยอาการแสดงเด่น ๆ ได้แก่ ปวดศีรษะ ไอแห้ง มีน้ำมูกใส คัดจมูก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้สูง อ่อนเพลีย โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที ทั้งนี้วิธีการรักษาส่วนใหญ่รักษาตามอาการเบื้องต้น เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ในผู้ป่วยบางรายที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการรุนแรงจะพิจารณาให้ยาฆ่าไวรัส (Antivirals) ซึ่งจะเข้าไปยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส  ทำไห้ลดระยะเวลาอาการเจ็บป่วย ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น  ความจำเป็นในการใช้ยานี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์อาจพิจารณาสั่งจ่ายในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีความเสี่ยงสูงหรือมีความจำเป็นในการใช้

นายแพทย์ภาณุวัฒน์ วงษ์กุหลาบ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สามารถทำได้โดย หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร เป็นต้น ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรใส่หน้ากากอนามัย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินอาหารปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนกลาง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เป็นต้น ที่สำคัญคือควรใส่หน้ากากอนามัยหากจำเป็นต้องอยู่ในสถานที่แออัดหรือมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เช่น โรงพยาบาล สถานีขนส่งสาธารณะ ห้างสรรพสินค้าหรือตลาดที่มีคนจำนวนมาก เป็นต้น

#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #ไข้หวัดใหญ่

27 กันยายน 2566

******************

กรมการแพทย์แนะแนวทางห่างไกลโรคไข้หวัดใหญ่ อ่านต่อที่ https://shorturl.asia/YylcJ

%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88

611410

Please follow and like us:

  • -

พาร์กินสัน อาการสั่นที่ไม่ควรมองข้าม

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ชี้ โรคพาร์กินสันมีความสำคัญต่อการสาธารณสุขไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทุพพลภาพ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต และยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอีกด้วย

599325

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดี กรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์สมองในบางตำแหน่งเกิดมีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้สารสื่อประสาทในสมองที่มีชื่อว่า “โดพามีน” (Dopamine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายมีการตายและลดจำนวนลง จึงทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเกิดอาการสั่น แขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้า และสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ และในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้

2-%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b2-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%88%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%98%e0%b8%b4

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวว่า โดยปกติแล้วโรคนี้จะมีอาการที่แสดงออกมามาก หรือน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งอาการที่แสดงออกมีดังนี้ อาการสั่น เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง การทรงตัวไม่ดี เสียงค่อยและเบาลง สีหน้าไร้อารมณ์ หลังค่อม ตัวงุ้มลง ความสามารถในการได้กลิ่นลดลง ท้องผูก ตะโกนร้อง หรือมีการขยับแขนขาอย่างรุนแรงในขณะหลับ เขียนตัวหนังสือเล็กลง เป็นต้น

แพทย์หญิงพิมลพรรณ เลี่ยนเครือ นายแพทย์ชำนาญการ ด้านประสาทวิทยา กลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคพาร์กินสัน รักษาได้โดย การรับประทานยา เพื่อเพิ่มปริมาณสารเคมีโดปามีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยแพทย์จะพิจารณาการให้ยาตามอาการของผู้ป่วย การทำกายภาพบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การนั่ง และการทรงตัว ผู้ป่วยจะสามารถสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติมากยิ่งขึ้น และการผ่าตัด เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีภาวะการตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอ หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานยา การผ่าตัดจะใช้วิธีฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง เรียกว่า การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก หากพบว่าคนในครอบครัวมีอาการเข้าข่ายจะเป็นโรคนี้ควรรีบพาเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยนั่นเอง

**************************************

#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #โรคพาร์กินสัน
– ขอขอบคุณ –
19 กันยายน 2566

**************************************

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ชี้ โรคพาร์กินสันมีความสำคัญต่อการสาธารณสุขไทย เพราะเป็นโรคที่ทำให้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทุพพลภาพ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต และยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอีกด้วย อ่านต่อที่ https://shorturl.asia/YiayM

rj-health-%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%99-1

599312

Please follow and like us:

  • -

แพทย์เตือนอันตรายจากการแคะหู เสี่ยงแก้วหูทะลุอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ เตือน การแคะหูเองนอกจากจะแคะขี้หูได้ไม่หมดเนื่องจากมองเห็นได้ไม่ชัดเจนแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อหูชั้นนอก ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง หากมีอาการผิดปกติ เช่น หูอื้อ ปวดหู คันหู การได้ยินลดลง มีเลือดหรือน้ำไหลออกจากหู ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

591289

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การแคะหู หรือ ปั่นหูบ่อยๆ เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น เนื่องจากขี้หูของคนเรานั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการป้องกันสิ่งแปลกปลอม ช่วยเคลือบช่องหู และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ถ้าไม่มีขี้หูจะทำให้รูหูแห้งและคัน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าขี้หูเป็นสิ่งสกปรกในร่างกายที่ต้องกำจัดออกจึงแคะหรือปั่นหูบ่อยๆ ซึ่งความเป็นจริงแล้วขี้หูจะสามารถหลุดออกมาได้เองหรือเรียกว่า Self-Cleaning Mechanism คือการค่อยๆ ทำความสะอาดตัวเอง โดยขี้หูและผิวหนังที่หลุดลอกจะค่อยๆ เคลื่อนที่ออกมาที่ปากรูหูและหลุดออก ดังนั้น การทำความสะอาดหูโดยใช้ไม้พันสำลีแคะหู ใช้น้ำหยอดหู จึงไม่มีความจำเป็นยกเว้นในบางคน สำหรับคนที่ขี้หูเหนียวและเคลื่อนที่ออกมาช้า ทำให้ขี้หูรวมตัวกันเป็นก้อนภายในรูหู ส่งผลให้มีอาการหูอื้อ ปวดแน่น ในหู กรณีเช่นนี้ควรพบแพทย์เพื่อทำความสะอาดรูหู ไม่ควรแคะเอง เพราะจะทำให้ขี้หูอุดตันถูกดันลึกมากขึ้น

591290

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวต่อว่า การแคะหูบ่อยๆ อาจก่อให้เกิดอันตรายหลายอย่าง เช่น อาจทำให้เกิดรอยถลอกหรือแผลในรูหู ก่อให้เกิดการอักเสบของหูชั้นนอก ทำให้มีอาการปวดหู หูอื้อ มีน้ำไหลจากหู บางรายขณะแคะหูอยู่อาจมีคนวิ่งหรือเดินมาชนแล้วทำให้ไม้พันสำลีถูกกระแทกเข้าไปถึงเยื่อแก้วหู อาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ ดังนั้น การดูแลรักษาหูจึงควรหลีกเลี่ยงการแคะหู โดยใช้เพียงผ้าเช็ดทำความสะอาดบริเวณนอกรูหูเท่านั้น นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตอาการ หากเริ่มมีอาการเจ็บในช่องหู หูอื้อ ปวดหู คันหู การได้ยินลดลง มีเลือดหรือน้ำไหลออกจากหู ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี หากละเลยอาการของภาวะขี้หูอุดตันโดยไม่ทำการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงขั้นสูญเสียการได้ยิน

s__149495849

นายแพทย์ดาวิน เยาวพลกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านเวชกรรม สาขาโสต ศอ นาสิก กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า หากหูมีภาวะที่ปกติดีไม่ควรทำการแคะหู ควรทำความสะอาดหูเฉพาะภายนอก หากมีความต้องการทำความสะอาดในช่องหูควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์จะทำการส่องกล้องภายในรูหู และใช้เครื่องมือในการนำขี้หูออก โดยไม่สัมผัส  ตัวเยื่อบุ หรือผนังหู นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงเสียงที่ดัง เพราะเสียงดังจะส่งผลโดยตรงทำให้เกิดอันตรายต่อหูชั้นในและทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็ว อย่างไรก็ตาม หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

 

**************************************

 

#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #อันตรายจากการแคะหู

– ขอขอบคุณ –

13 กันยายน 2566

**************************************

แพทย์เตือนอันตรายจากการแคะหู เสี่ยงแก้วหูทะลุอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน  อ่านต่อที่ https://shorturl.asia/qD5tK

info-%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b8%b9

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility