แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

ยาฉีดคุมกำเนิดสำหรับเพศชาย – โรงพยาบาลราชวิถี

ยาฉีดคุมกำเนิดสำหรับเพศชาย

  • -

ยาฉีดคุมกำเนิดสำหรับเพศชาย

นักวิจัยได้พัฒนายาฉีดคุมกำเนิดสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ และกำลังพัฒนาให้ได้ผลดีขึ้นเพื่อลดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ความซึมเศร้าและความผิดปกติทางอารมณ์ โดยงานวิจัยนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism แล้ว

ในขณะที่ผู้หญิงมีวิธีการคุมกำเนิดหลายวิธี ผู้ชายกลับมาทางเลือกไม่มากนักในการคุมกำเนิด เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การทำหมัน เป็นต้น

ดังนั้น การพัฒนาทางเลือกสำหรับการคุมกำเนิดสำหรับผู้ชายจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพราะในปี 2012 มีข้อมูลว่า การตั้งครรภ์ 40 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลกนั้นเป็นการตั้งครรภ์แบบไม่ได้ตั้งใจ จากข้อมูลของ Guttmacher Institute

“มีการค้นพบว่า การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนสำหรับผู้ชายใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ในคู่นอนของผู้ชายได้ การศึกษาของเราชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดแบบนี้” นพ.มาริโอ ฟิลิป เรเยส แห่งองค์การอนามัยโลก หนึ่งในนักวิจัยเผย

ขั้นตอนทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดแบบฉีดนั้น ได้ทดสอบกับชายจำนวน 320 คน อายุระหว่าง 18 ถึง 45 ปี ทุกคนมีคู่สมรสเพียงแค่คนเดียว อายุระหว่าง 18 ถึง 38 ปี และแต่งงานกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยผู้ชายทุกคนนั้นมีจำนวนสเปิร์มปกติในวันแรกของการศึกษา

จากนั้น ผู้ชายทุกคนจะได้รับการฉีดฮอร์โมนโปรเจสโตเจนที่ชื่อ norethisterone enanthate (NET-EN) ขนาด 200 มิลลิกรัม และฮอร์โมนแอนโดรเจนที่ชื่อ testosterone undecanoate (TU) ขนาด 1,000 มิลลิกรัม โดยได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพคอยฉีดยาคุมกำเนิดให้ทุก ๆ 8 สัปดาห์ เป็นเวลารวมกัน 26 สัปดาห์ เพื่อลดจำนวนสเปิร์ม อาสาสมัครจะต้องให้ตัวอย่างน้ำอสุจิเพื่อนำไปทดสอบหลังจากผ่านไปแล้ว 8 และ 12 สัปดาห์ และจากนั้นก็ให้อีกทุก 2 สัปดาห์ จนกว่าจะเข้าเกณฑ์ว่าจำนวนสเปิร์มได้ลดลงจนถึงระดับที่กำหนดไว้ ในช่วงลดสเปิร์มนี้ คู่สามีภรรยาได้รับคำแนะนำให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบไม่ใช้ฮอร์โมนวิธีอื่นร่วมไปด้วย

และเมื่อจำนวนสเปิร์มในน้ำอสุจิลดลงจนน้อยกว่า 1 ล้านตัวต่อ 1 มิลลิลิตรแล้วในการทดสอบสองครั้งติดต่อกัน คู่สามีภรรยาได้รับคำแนะนำให้เชื่อวิธีการคุมกำเนิดแบบฉีดอย่างเดียว ในช่วงนี้ ผู้ชายยังได้รับยาคุมกำเนิดแบบฉีดอยู่ทุก ๆ 8 สัปดาห์จนกว่าจะครบ 56 สัปดาห์ และให้ตัวอย่างน้ำอสุจิทุก ๆ 8 สัปดาห์เพื่อให้มั่นใจว่าจำนวนสเปิร์มยังอยู่ในระดับต่ำ และเมื่อเลิกให้ยาคุมกำเนิด นักวิจัยก็ทำการนับต่อไปว่าจำนวนสเปิร์มกลับมาเพิ่มขึ้นเร็วเพียงใด

นักวิจัยพบว่า ฮอร์โมนแบบฉีดนั้นช่วยลดสเปิร์มให้เหลือ 1 ล้านตัวต่อ 1 มิลลิลิตรภายใน 24 สัปดาห์ในผู้ชายทั้งหมด 274 คน และวิธีคุมกำเนิดแบบนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพในกลุ่มที่ทำอย่างต่อเนื่องถึง 94 เปอร์เซ็นต์ โดยเกิดการตั้งครรภ์เพียงแค่ 4 รายเท่านั้นในการศึกษาครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้หยุดรับผู้เข้าร่วมการทดลองเพิ่มตั้งแต่ปี 2011 เพราะมีรายงานเรื่องผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะความเครียดและความผิดปกติทางด้านอารมณ์ โดยอาสาสมัครจำนวนหนึ่งเผยถึงความเจ็บปวดในบริเวณที่ฉีดยา การปวดกล้ามเนื้อ สิวมากขึ้น และมีผู้ชายถึง 20 คนที่ขอยุติการเข้าร่วมการทดลองกลางคัน

แม้จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว แต่กว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมการทดลองก็ชี้ว่าอยากจะใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีนี้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดการทดลอง

ในบรรดา 1,491 ครั้งที่มีการรายงานผลกระทบในเชิงที่ไม่ดีนั้น นักวิจัยพบว่ามีถึง 39 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการฉีดยาคุมกำเนิดเลย ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัวตายโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้ยา ส่วนกรณีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาก็ได้แก่อาการซึมเศร้า การใช้ยาอะซีตามิโนเฟนเกิดขนาดแบบตั้งใจ และการมีการเต้นของหัวใจที่เร็วและไม่ปกติหลังจากหยุดรับยา

“เรายังต้องทำวิจัยกันต่อไปเพื่อให้ได้วิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับผู้ชายโดยทั่วไป แม้วิธีการคุมกำเนิดแบบฉีดจะมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการตั้งครรภ์ได้ การใช้ฮอร์โมนเหล่านี้ยังคงต้องมีการศึกษากันเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความปลอดภัย” ดร.เฟสติน เผย

อ้างอิง: Endocrine Society. (2016, October 27). Male birth control shots prevent pregnancy: Researchers call for further study to reduce risk of depression, side effects. ScienceDaily. Retrieved October 30, 2016 from www.sciencedaily.com/releases/2016/10/161027143337.htmงานวิจัย: Hermann M. Behre, Michael Zitzmann, Richard A. Anderson, David J. Handelsman, Silvia W. Lestari, Robert I. McLachlan, M. Cristina Meriggiola, Man Mohan Misro, Gabriela Noe, Frederick C. W. Wu, Mario Philip R. Festin, Ndema A. Habib, Kirsten M. Vogelsong, Marianne M. Callahan, Kim A. Linton, and Doug S. Colvard. Efficacy and Safety of an Injectable Combination Hormonal Contraceptive for Men. Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, October 27, 2016 DOI:10.1210/jc.2016-2141

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility