แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

ความรู้สุขภาพ – โรงพยาบาลราชวิถี

Category Archives: ความรู้สุขภาพ

  • -

กรมการแพทย์ชวนดูแลสุขภาพ เน้นพฤติกรรมการบริโภคถูกต้องเนื่องในวันไตโลก

กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลราชวิถี เผย ปัจจุบันสถานการณ์ของโรคไตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยแบบก้าวกระโดด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขและมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง กลายเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ จึงอยากเชิญชวนคนไทยมาตรวจร่างกายคัดกรองโรคไต เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไต
879100
 
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า “โรคไต” เป็นปัญหาใหญ่ทั่วโลกในรอบหลายปีที่ผ่านมา และคนไทยมีแนวโน้มป่วยโรคไตเพิ่มมากขึ้น โดยโรคไตเกิดได้จากปัจจัยหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านพฤติกรรม ด้านพันธุกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันพบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตบ่อยที่สุดคือ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดยคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 80% ส่วนสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ โรคไตอักเสบเรื้อรังชนิดต่างๆ หรือเกิดจากการติดเชื้อรุนแรงจนทำให้ไตถูกทำลาย ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงข้างต้นควรได้รับการคัดกรอง หากพบในระยะแรกๆ และได้รับการรักษารวมถึงการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ เพื่อไม่ให้พัฒนาไปสู่โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย
2-line_album_%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81-130367_%e0%b9%92%e0%b9%94%e0%b9%90%e0%b9%93%e0%b9%91%e0%b9%93_15
 
นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวต่อว่า โรคไตสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย หากไม่ได้รับการตรวจหาสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสมอาจนำไปสู่การเกิดโรคไตเรื้อรังและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคตามมาได้ เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตระยะแรกๆ มักจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจน แต่จะมีอาการเมื่อเป็นมากแล้ว อาการที่พบได้บ่อยและเป็นสัญญาณแจ้งเตือนโรคไต เช่น ตัวบวม เท้าบวม เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ปัสสาวะมีความผิดปกติ รวมถึงมีความดันโลหิตสูงมาก ดังนั้น การตรวจสุขภาพประจำปี รวมทั้งการตรวจเลือดดูการทำงานของไตและการตรวจปัสสาวะถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยง อาทิเช่น อายุมากกว่า 60 ปี มีประวัติโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือผู้ป่วยที่รับประทานยาที่อาจส่งผลต่อการทำงานของไต ทานยาสมุนไพร หรือได้รับยาบำบัดทางเคมีบำบัดที่มีผลต่อไต เป็นต้น
 
ผศ.พญ.วรางคณา พิชัยวงศ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ กลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า “วันไตโลก หรือ World Kidney Day” ประจำปี 2567 ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม โดยมีการรณรงค์ภายใต้คำขวัญ “ครอบคลุมทุกสิทธิ์ พิชิตโรคไต ใส่ใจการใช้ยา” เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักต่อภัยร้ายจากโรคไต ที่ทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ ดังนั้น การตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ลดการบริโภคอาหารเค็ม ลดอาหารไขมันสูง ลดอาหารหมักดองและอาหารที่มีรสจัด รวมถึงการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ควรลดการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวด ยาสมุนไพรที่ไม่ทราบสรรพคุณ พร้อมกับใส่ใจสุขภาพตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคไต ในการนี้โรงพยาบาลราชวิถีได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ประชาชนเนื่องในวันไตโลก อาทิ การให้คำปรึกษาโดยอายุรแพทย์โรคไต พยาบาลผู้เชี่ยวชาญ นักโภชนาการ เภสัชกร และนักกายภาพบำบัด รวมทั้ง การตรวจคัดกรองโรคไตเบื้องต้น เพื่อเป็นการให้ความรู้ประชาชนและถือเป็นโอกาสดีที่จะรณรงค์ให้คนไทยเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคไต อีกด้วย
 
#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #โรคไต #วันไตโลก
– ขอขอบคุณ –
13 มีนาคม 2567
 
กรมการแพทย์ชวนดูแลสุขภาพ เน้นพฤติกรรมการบริโภค อ่านต่อที่ https://shorturl.asia/rJfu2
%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b9%84%e0%b8%95
879203
Please follow and like us:

  • -

แพทย์แนะวิธีรับมือ ฝุ่น PM 2.5 สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ เผย ฝุ่น PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้เป็นอย่างมาก เนื่องจากฝุ่นนี้จะก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจมากยิ่งขึ้น ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วจึงมีอาการกำเริบได้ง่ายเมื่อได้รับ PM 2.5 การได้รับฝุ่น PM 2.5 ยังสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ตัวเดิมได้มากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใหม่ได้อีกด้วย
857490
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ขนาดของฝุ่น PM 2.5 นั้นเล็กมากจนสามารถลอดผ่านจมูกเข้าไปในปอดและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ อาการป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จึงอาจไม่ใช่แค่ จาม คัน คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา เหมือนอาการภูมิแพ้ทั่วไป แต่อาจทำให้เกิดอาการหอบหืด มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือการอักเสบที่หลอดลม ซึ่งจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ ซึ่งมักตอบสนองต่อฝุ่นและมลพิษได้ไวและรุนแรงกว่าคนทั่วไป
868894
นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวต่อว่า ฝุ่น PM 2.5 มีกลไกการอักเสบที่ลงลึกไปที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนและระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ส่งผลต่อภูมิแพ้ทางเดินหายใจและภูมิแพ้ผิวหนัง เวลาที่สูดเข้าไปจะเกิดการอักเสบทั้งทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ภูมิแพ้โพรงจมูก จาม น้ำมูก คัดจมูก ลามไปถึงโพรงไซนัสอักเสบ ส่วนการอักเสบทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ บริเวณหลอดลมกับถุงลมในปอด เมื่อร่างกายของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ได้รับฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้เดิมได้ไวขึ้น และเกิดการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งทำให้โรคภูมิแพ้โพรงจมูก โรคหอบหืดกำเริบรุนแรงขึ้นได้
นายแพทย์ชนกชนม์ ไชยบัง นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิแพ้ โพรงจมูกอักเสบ โรคหอบหืด หรือโรคปอดอื่น ๆ จะพบว่ามีอาการกำเริบได้ง่ายเมื่อได้รับ PM 2.5 ตั้งแต่คัดจมูกมาก มีน้ำมูกไหล ไอ หอบเหนื่อย หายใจเสียงหวีด บางรายอาจรุนแรงถึงระบบหายใจล้มเหลวได้โดยเฉพาะผู้มีโรคปอดรุนแรง ส่วนกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้ผิวหนัง อาจมีอาการคันมากขึ้น เกิดผื่นแดงตามผิวหนัง ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้สามารถรักษาควบคุมอาการให้สงบได้ บางรายสามารถควบคุมจนแทบไม่มีอาการ แต่บางรายที่คุมอาการได้ยากอาจมีอาการแบบเรื้อรัง จำเป็นต้องได้รับยาควบคุมอาการอย่างสม่ำเสมอ และสิ่งสำคัญคือต้องระมัดระวังในการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ทราบหรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล โดยมีข้อมูลชัดเจนว่าฝุ่น PM 2.5 ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อการกำเริบของโรคภูมิแพ้ สำหรับวิธีป้องกันตนเองจากฝุ่นพิษ PM 2.5 คือ 1.หมั่นตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งข้อมูลของรัฐหรือเอกชน รวมถึงการใช้เครื่องวัดปริมาณฝุ่นแบบพกพา เพื่อวางแผนการทำกิจกรรมให้เหมาะสม 2.หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือกลางแจ้งในบริเวณที่มีคุณภาพอากาศไม่ดี 3.หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านหรือที่โล่งแจ้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบการหายใจหรือโรคหัวใจเรื้อรัง แนะนำให้ใส่หน้ากากพิเศษชนิดที่เรียกว่า “เอ็นเก้าสิบห้า” สำหรับคนทั่วไปอย่างน้อยให้ใส่ “หน้ากากอนามัย” โดยต้องใส่ให้ถูกวิธี และใส่เสื้อผ้าที่ปกคลุมผิวหนังได้ดี 4.การออกกำลังกายควรทำในที่ร่มฝุ่นน้อย 5.รับประทานอาหารที่มีวิตามินซี และวิตามินอี เช่น ผักและผลไม้ 6.การใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอในช่วงที่มีคุณภาพอากาศไม่ดี 7.การล้างจมูกแนะนำสำหรับผู้ป่วยภูมิแพ้ที่มีน้ำมูกมาก โดยทำความสะอาดก่อนพ่นยา หรือกลุ่มคนที่ต้องทำงานกลางแจ้งและสัมผัสฝุ่นเป็นเวลานานๆ แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีอาการไม่แนะนำให้ล้างจมูก เมื่อเรารู้วิธีและสามารถหลีกเลี่ยงการก่อภูมิแพ้ดังกล่าวได้อย่างถูกวิธี อาการกำเริบของโรคก็จะลดลง อย่างไรก็ตามไม่ควรมองว่าโรคภูมิแพ้เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะอาการแพ้ที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5 ควรต้องพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพราะหากปล่อยไว้จนเรื้อรังนอกจากยากต่อการรักษา ยังอาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายมากกว่าที่คิด
**************************************
#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #ฝุ่นPM2.5
– ขอขอบคุณ –
มีนาคม 2567
**************************************
กรมการแพทย์แนะวิธีรับมือ ฝุ่น PM 2.5 สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ อ่านต่อที่ https://shorturl.asia/JjTKt
%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad-%e0%b8%9d%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%99
%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b9%89%e0%b8%81%e0%b8%b2
Please follow and like us:

  • -

รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์ ปลูกถ่าย 2 อวัยวะ (ตับและไต) สำเร็จเป็นรายแรกของโรงพยาบาลในกรมการแพทย์

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ เปิดความสำเร็จในการปลูกถ่าย 2 อวัยวะ โดยได้ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ   พร้อมไต สำเร็จในผู้ป่วยรายเดียว ถือเป็นรายแรกของโรงพยาบาลในกรมการแพทย์

787464

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะอวัยวะล้มเหลว ได้แก่ หัวใจ ปอด หรือตับ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตสูงมาก บางรายจำเป็นต้องรักษาตัวในหอผู้ป่วย ICU ซึ่งการปลูกถ่ายหัวใจ ปอดหรือตับอาจเป็นทางรอดเดียว สำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายการปลูกถ่ายไตจะช่วยให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น ภาวะแทรกซ้อนต่ำกว่าการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือล้างไตทางช่องท้อง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลับมาใกล้เคียงประชากรปกติมากที่สุด

การปลูกถ่ายอวัยวะที่ซับซ้อนมากกว่า 1 อวัยวะพร้อมกันให้แก่ผู้ป่วยหนึ่งราย จำเป็นต้องมีความร่วมมือระหว่างทีมสหสาขาในการเตรียมผู้ป่วยก่อนรับอวัยวะ ทีมช่วยผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลานานกว่า 8-10 ชั่วโมง และทีมดูแลหลังผ่าตัดเพื่อให้อวัยวะปลูกถ่ายทำงานได้ดีที่สุดและป้องการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งต้องตรวจติดตามไปตลอดชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว

s__10051665

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวต่อว่า โรงพยาบาลราชวิถีได้เริ่มดำเนินการปลูกถ่ายอวัยวะมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นโรงพยาบาลแรกในประเทศไทยที่มีการผ่าตัดปลูกถ่ายมากกว่า 1 อวัยวะตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2532 ซึ่งได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอดพร้อมกันเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย และดำเนินการปลูกถ่ายหัวใจ ตับ และไตมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะแล้ว จำนวน 471 ราย แบ่งเป็น การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ จำนวน 56 ราย การผ่าตัดปลูกถ่ายไต จำนวน 373 ราย และการผ่าตัดปลูกถ่ายตับจำนวน 42  ราย

นายแพทย์วรพจน์ ชุณหคล้าย ประธานศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาล ราชวิถี กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 ทีมแพทย์โรงพยาบาลราชวิถีได้ทำการผ่าตัดปลูกถ่าย 2 อวัยวะคือตับพร้อมไต ในผู้ป่วยหญิงอายุ 54 ปี ผู้ป่วยลงทะเบียนรอรับอวัยวะตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ. 2566 จนได้รับการแจ้งจากพยาบาลผู้ประสานงานการปลูกถ่ายอวัยวะว่ามีผู้บริจาคอวัยวะที่มีความเข้ากันได้ ทีมแพทย์จึงได้ทำการผ่าตัดนำตับและไตบางส่วนออกและปลูกถ่ายตับและไตให้กับผู้ป่วยใหม่ ซึ่งถือเป็นรายแรกของโรงพยาบาลในกรมการแพทย์ ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดมากกว่า 12 ชั่วโมง โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีระหว่าง ทีมผ่าตัดนำอวัยวะออก นำโดย พญ.วิภาวี ทีมปลูกถ่ายตับ นำโดย นพ.สมบูรณ์ นพ.สอาด นพ.ภาสุ นพ.กิตติพงศ์ ทีมผ่าตัดปลูกถ่ายไต นำโดย นพ.วรพจน์ นพ.ณัฐพงศ์ นพ.ชววรรธน์ ทีมแพทย์อายุรกรรมทางเดินอาหาร นำโดย นพ.เฉลิมรัฐ และทีมแพทย์อายุรกรรมโรคไต นำโดย พญ.กรทิพย์ รวมทั้ง ทีมพยาบาลผู้ประสานงานการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะโรงพยาบาลราชวิถี เจ้าหน้าที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และที่สำคัญที่สุด คือ ผู้บริจาคอวัยวะและครอบครัวที่ร่วมสร้างกุศลที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นและเป็นการสร้างประโยชน์อย่างสูงสุด ทั้งนี้ หลังเสร็จสิ้นการผ่าตัด ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาตัวต่อที่หอผู้ป่วย ICU ศัลยกรรม เพื่อพักฟื้นและเคลื่อนย้ายไปยังหอผู้ป่วยปลูกก่ายอวัยวะ โดยเบื้องต้นอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่ายทำงานได้ดี ในการนี้ โรงพยาบาลราชวิถีขอเชิญชวนร่วมแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเพื่อมอบให้แก่เพื่อนมนุษย์ โดยสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์รับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ ชั้น 9 อาคารทศมินทราธิราช โรงพยาบาลราชวิถี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 206 2900 ต่อ 10988

#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #ปลูกถ่ายอวัยวะ
17 มกราคม 2567

**************************************

รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์ ปลูกถ่าย 2 อวัยวะ (ตับและไต) สำเร็จเป็นรายแรกของโรงพยาบาลในกรมการแพทย์ อ่านต่อที่ https://shorturl.asia/en4iG

787451

Please follow and like us:

  • -

กรมการแพทย์ จัดกิจกรรมเนื่องใน วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก (World Prematurity Day) 17 พฤศจิกายน 2566

กรมการแพทย์ โดย โรงพยาบาลราชวิถี ร่วมกับ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และเครือข่ายโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน และโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการมีบุตรและเพิ่มอัตราการเกิดของเด็กมีคุณภาพ กรมการแพทย์ จัดกิจกรรม วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก (World Prematurity Day) วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 โดยมี นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และ ผศ.(พิเศษ) นพ.สุเพ็ชร ทุ้ยแป หัวหน้ากลุ่มงานสูตินรีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวรายงาน ณ โรงพยาบาลราชวิถี เพื่อรณรงค์และให้ความรู้ในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดแก่หญิงตั้งครรภ์และประชาชนทั่วไป รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่มีหน้าที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกคลอด เพื่อร่วมส่งมอบเด็กคุณภาพสู่ครอบครัว

693230

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ วันที่ 17 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น World Prematurity Day หรือ วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก เพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความตระหนักและความเห็นอกเห็นใจแก่เด็กเกิดก่อนกำหนดและครอบครัว โดยในปี 2023 นี้ เป็น Theme เรื่อง “Small Actions, BIG IMPACT : Immediate skin-to-skin care for every baby everywhere” เน้นย้ำการสัมผัสเนื้อแนบเนื้อระหว่างมารดากับทารกตั้งแต่แรกเกิด ทั้งนี้ การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกแรกคลอดเสียชีวิต ส่วนทารกที่รอดชีวิตอาจมีภาวะทุพพลภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามมาได้ ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบกับทารก แต่ยังส่งผลถึงครอบครัว สังคม และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้ทรัพยากรในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

line_album_%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81_%e0%b9%92

นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวต่อว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกพบว่าในปี 2563 มีทารกคลอดก่อนกำหนด 13.4 ล้านคน เทียบเท่าเท่ากับว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนดหนึ่งรายในทารกที่คลอดทุกๆ 10 ราย สำหรับประเทศไทยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าในปีงบประมาณ 2566 พบว่าอัตราทารกคลอดก่อนกำหนดอยู่ที่ร้อยละ 10.4 คาดว่าจะมีเด็กคลอดก่อนกำหนดในประเทศไทยประมาณ 50,000 คนต่อปี การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดจึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด ปัจจุบันพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนดและตรวจพบปากมดลูกสั้นจะมีความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ควรมาฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ เพื่อให้สูติแพทย์ตรวจคัดกรองและให้การป้องกันในรายที่มีปัจจัยเสี่ยงเพื่อลดภาวะทุพพลภาพหรือการเสียชีวิตของทารกแรกคลอดลงให้ได้มากที่สุด

ผศ.(พิเศษ) พญ.เด่นนพพร สุดใจ หัวหน้างานเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นการให้ความรู้เรื่องการคลอดก่อนกำหนด ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการมีบุตรเพื่อลดความเสี่ยงการคลอดก่อนกำหนด การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด สัญญาณเตือนของการคลอดก่อนกำหนด การดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนด และเมื่อมีภาวะคลอดก่อนกำหนดขึ้นแล้วจะปฏิบัติตัวอย่างไร รวมทั้งการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดอย่างไร นอกจากนี้ยังมีการจัดเสวนาร่วมกันทั้งสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์โรงพยาบาลราชวิถี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิดจากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กับคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์และมีภาวะคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นแล้วผ่านวิกฤตินี้ไปได้อย่างไรอีกด้วย

**************************************

#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก

– ขอขอบคุณ –

17 พฤศจิกายน 2566

line_album_%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81_%e0%b9%92

line_album_%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81_%e0%b9%92

Please follow and like us:

  • -

รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์ “เปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตร” นำร่องแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ

โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ได้เปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตร โดยมี นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี และ แพทย์หญิงพิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ ร่วมเปิดงาน เพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ

683667

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวและมีปัญหาประชากรเกิดน้อย โดยสาเหตุหลักเป็นผลมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และค่านิยมการมีบุตรที่เปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการมีบุตรของ นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทางกรมการแพทย์โดยโรงพยาบาลราชวิถีได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และได้จัดให้มีคลินิกส่งเสริมการมีบุตรโดยมุ่งเน้นให้บริการเชิงรุกในคู่สมรสที่เพิ่งแต่งงานเป็นหลัก เนื่องจากครอบคลุมกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ที่ยังมีอายุไม่มากเกินไป มีสุขภาพที่ดี และมีโอกาสที่จะมีบุตรที่มีคุณภาพ ส่วนการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากจัดเป็นประเด็นสำคัญในลำดับถัดมาเนื่องจากครอบคลุมกลุ่มประชากรที่มีจำนวนไม่มาก และสามารถเข้ารับบริการที่คลินิกรักษาผู้มีบุตรยากของทางโรงพยาบาลอยู่แล้ว

นอกจากนี้ กรมการแพทย์ยังได้มอบหมายให้โรงพยาบาลราชวิถีจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจน้ำอสุจิ การเตรียมน้ำอสุจิเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก และการฉีดน้ำอสุจิเข้าโพรงมดลูก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน สามารถให้บริการได้ที่โรงพยาบาลขนาดเล็กโดยสูตินรีแพทย์ทั่วไป และมีราคาที่ไม่แพง เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงของประชาชนอีกด้วย

683668
นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ โรงพยาบาลราชวิถีจึงได้จัดให้มีบริการตรวจสุขภาพของคลินิกส่งเสริมการมีบุตร ฟรี! จำนวน 50 คู่ โดยคู่สมรสสามารถโทรเข้ามาที่ศูนย์ประสานงานเพื่อนัดคิวตรวจ และทำบัตรโรงพยาบาลผ่านระบบออนไลน์ เมื่อถึงวันที่มาตรวจคู่สมรสสามารถมารับการตรวจแบบ one stop service ได้ที่คลินิกส่งเสริมการมีบุตร ชั้น 6 อาคาร ทศมินทราธิราช โดยจะมีการตรวจเลือดเพื่อวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ และพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ สำหรับผลการตรวจเลือดบางชนิดที่ต้องรอระยะเวลาในการตรวจมากกว่า 1 วัน ผู้ที่มาตรวจจะได้รับการแจ้งผลเลือดผ่านระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)

s__149889039_0

นายแพทย์ทรงพล พุทธศิริ หัวหน้างานเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลราชวิถี ได้หยุดให้บริการทำเด็กหลอดแก้วไปช่วงหนึ่ง โดยในปัจจุบันได้ย้ายมาเปิดดำเนินการที่ชั้น 6 อาคารทศมินทราธิราช และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การแพทย์เพื่อการมีบุตร” สำหรับให้บริการตรวจรักษาภาวะมีบุตรยากที่ครอบคลุมทุกระดับ ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก การฉีดน้ำอสุจิเข้าโพรงมดลูก การทำเด็กหลอดแก้ว การแช่แข็งตัวอ่อนและเซลล์สืบพันธุ์ นอกจากนี้เพื่อช่วยขับเคลื่อนนโยบายของกรมการแพทย์ที่ต้องการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ ทางหน่วยเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์จึงได้เปิดให้บริการคลินิกส่งเสริมการมีบุตรเพื่อเตรียมตัวคู่สมรสให้มีความพร้อมในการมีบุตรในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมด้วย

**************************************

#กรมการแพทย์ #โรงพยาบาลราชวิถี #คลินิกส่งเสริมการมีบุตร
– ขอขอบคุณ –
13 พฤศจิกายน 2566

**************************************

รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์ “เปิดคลินิกส่งเสริมการมีบุตร” นำร่องแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ อ่านต่อที่ https://shorturl.asia/k2UWp

%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%81

683652

2

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility