แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจ้าบ้าน ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลราชวิถี – โรงพยาบาลราชวิถี

หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจ้าบ้าน ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลราชวิถี

โรงพยาบาลราชวิถี

หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจ้าบ้าน

ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว

โรงพยาบาลราชวิถี

1

 แพทย์หญิงสิริรัตน์  เล่าสุอังกูร

นายแพทย์เชี่ยวชาญ

หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว

2 3 4 5
 นพ.วินัย ศรีสะอาด
นายแพทย์เชี่ยวชาญ
 พญ.นัชชา  เรืองเกียรติกุล
นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

พญ.รัชดาพร บุญญาภิสมภาร
นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

 นพ.อภิวันท์ เจริญวัฒน์
นายแพทย์ชำนาญการ

พันธกิจของแผนงานฝึกอบรม

เป็นองค์กรที่ฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวซึ่งเป็นสาขาวิชาทางการแพทย์เฉพาะทางที่อาศัยความรู้อย่างเป็นองค์รวม ซึ่งครอบคลุมทุกมิติของการดูแลสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยผสมผสานศาสตร์ ร่วมกับความสามารถในการทำหัตถการที่พบบ่อยในบริการปฐมภูมิ ทั้งให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ส่งเสริมป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพ การดูแลผู้ป่วยนอก การดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม และการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน โดยเป็นการดูแลสำหรับประชากรทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่เกิดจนตาย รวมถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  แพทย์ผู้รับการอบรมด้านเวชศาสตร์ครอบครัวจึงควรมีความรู้ครอบคลุมเนื้อหาดังกล่าวทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ นอกจากความรู้และทักษะด้านเวชศาสตร์ครอบครัวแล้ว แพทย์สาขาเวชศาสตร์ครอบครัวควรมีความสามารถด้านอื่น ๆที่สำคัญได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพ ตลอดจนกระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงานและองค์กร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริการทางเวชศาสตร์ครอบครัว

โดยการฝึกอบรมได้ยึดหลักการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ภายใต้มาตรฐานความรู้ความชำนาญที่ทางราชวิทยาลัยได้กำหนดไว้ โดยมีการกำกับดูแลของคณาจารย์ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด จัดให้มีสภาพแวดล้อมของการฝึกอบรมที่คำนำถึงสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับสังคมได้ว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถดูแลผู้ป่วยได้มีประสิทธิภาพ มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัย รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพประชาชน โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานการดูแลแบบองค์รวม โดยดำเนินการฝึกอบรมที่โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลมิราเคิล ออฟไลฟ์

ทั้งนี้ในปัจจุบันมีความต้องการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อไปปฏิบัติงานในระบบบริการปฐมภูมิเพิ่มขึ้น จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ไว้ดังนี้ “ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” กระทรวงสาธารณสุขไทยได้มีนโยบายในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญโดยกำหนดสัดส่วนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสำหรับการดูแลประชาชนที่เหมาะสมคือ 1 ต่อประชากร 10,000 คน ดำเนินการผ่านคลินิกหมอครอบครัว โดยได้ร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันอุดมศึกษา ผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ตั้งเป้าหมายให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวครบ 6,500 ทีมภายในปี 2569

กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลราชวิถี เป็นสถาบันหลักในการจัดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว เขตสุขภาพที่ 13 โดยหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ฉบับนี้ ได้พัฒนาตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาของสหพันธ์แพทยศาสตรศึกษาโลก พ.ศ.2558 (World Federation for Medical Education :WFME 2015) โดยมีขอบเขตครอบคลุมพันธกิจ กระบวนการ โครงสร้าง องค์ประกอบ ผลลัพธ์หรือความสามารถที่พึงประสงค์ การประเมินผล และสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน เพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางคลินิกที่มุ่งไปสู่การประกอบเวชปฏิบัติในฐานะแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พันธกิจของแผนงานฝึกอบรม

เป็นองค์กรที่ฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวซึ่งเป็นสาขาวิชาทางการแพทย์เฉพาะทางที่อาศัยความรู้อย่างเป็นองค์รวม ซึ่งครอบคลุมทุกมิติของการดูแลสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยผสมผสานศาสตร์ ร่วมกับความสามารถในการทำหัตถการที่พบบ่อยในบริการปฐมภูมิ ทั้งให้การดูแลรักษาผู้ป่วย ส่งเสริมป้องกัน ฟื้นฟูสุขภาพ การดูแลผู้ป่วยนอก การดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างเหมาะสม และการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน โดยเป็นการดูแลสำหรับประชากรทุกกลุ่มวัย ตั้งแต่เกิดจนตาย รวมถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  แพทย์ผู้รับการอบรมด้านเวชศาสตร์ครอบครัวจึงควรมีความรู้ครอบคลุมเนื้อหาดังกล่าวทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ นอกจากความรู้และทักษะด้านเวชศาสตร์ครอบครัวแล้ว แพทย์สาขาเวชศาสตร์ครอบครัวควรมีความสามารถด้านอื่น ๆที่สำคัญได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพ ตลอดจนกระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงานและองค์กร เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริการทางเวชศาสตร์ครอบครัว

โดยการฝึกอบรมได้ยึดหลักการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จัดประสบการณ์เรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ภายใต้มาตรฐานความรู้ความชำนาญที่ทางราชวิทยาลัยได้กำหนดไว้ โดยมีการกำกับดูแลของคณาจารย์ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด จัดให้มีสภาพแวดล้อมของการฝึกอบรมที่คำนำถึงสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นกับสังคมได้ว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถดูแลผู้ป่วยได้มีประสิทธิภาพ มีความเอื้ออาทรและใส่ใจในความปลอดภัย รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาและสร้างเสริมสุขภาพประชาชน โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานการดูแลแบบองค์รวม โดยดำเนินการฝึกอบรมที่โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลมิราเคิล ออฟไลฟ์

ทั้งนี้ในปัจจุบันมีความต้องการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อไปปฏิบัติงานในระบบบริการปฐมภูมิเพิ่มขึ้น จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ มาตรา 258 ไว้ดังนี้ “ให้มีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม” กระทรวงสาธารณสุขไทยได้มีนโยบายในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญโดยกำหนดสัดส่วนแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสำหรับการดูแลประชาชนที่เหมาะสมคือ 1 ต่อประชากร 10,000 คน ดำเนินการผ่านคลินิกหมอครอบครัว โดยได้ร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันอุดมศึกษา ผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ตั้งเป้าหมายให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวครบ 6,500 ทีมภายในปี 2569

กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลราชวิถี เป็นสถาบันหลักในการจัดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว เขตสุขภาพที่ 13 โดยหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ฉบับนี้ ได้พัฒนาตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาของสหพันธ์แพทยศาสตรศึกษาโลก พ.ศ.2558 (World Federation for Medical Education :WFME 2015) โดยมีขอบเขตครอบคลุมพันธกิจ กระบวนการ โครงสร้าง องค์ประกอบ ผลลัพธ์หรือความสามารถที่พึงประสงค์ การประเมินผล และสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ในการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน เพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางคลินิกที่มุ่งไปสู่การประกอบเวชปฏิบัติในฐานะแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คู่มือแพทย์ประจำบ้าน
หลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน

Accessibility