แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

หลอดลมอักเสบ ต้นเหตุอาการไอเรื้อรัง – โรงพยาบาลราชวิถี

หลอดลมอักเสบ ต้นเหตุอาการไอเรื้อรัง

  • -
website

หลอดลมอักเสบ ต้นเหตุอาการไอเรื้อรัง

%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%9a-info

หลอดลมอักเสบ ต้นเหตุอาการไอเรื้อรัง

     โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์แนะประชาชนดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสัมผัสฝุ่นควัน มลพิษ และอากาศเย็นเป็นเวลานานป้องกันโรคหลอดลมอักเสบที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง เพื่ออนามัยที่ดีลดเสี่ยงปัญหาสุขภาพ

     นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคหลอดลมอักเสบเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ซึ่งเป็นท่อที่นำลมหรืออากาศหายใจเข้าสู่ปอด เมื่อเยื่อบุหลอดลมบวมมีเสมหะส่งผลให้อากาศไหลผ่านหลอดลมเข้าปอดได้ไม่ดี หายใจลำบาก ทำให้เกิดอาการไอ ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ และอาจมีอาการอื่นๆคล้ายโรคหวัดร่วมด้วย เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ต่ำโดยอาการของโรคหลอดลมอักเสบมักหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่อาการไอแห้งอาจเป็นได้นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนทั้งนี้ โรคหลอดลมอักเสบแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่1.โรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เป็นอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ โดยจะมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์ ส่วนมากเป็นภายหลังไข้หวัดที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกวิธี ทำให้เชื้อลามลงไปถึงหลอดลม2.โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง เป็นอาการที่เกิดจากการไอเรื้อรังมากกว่า 3 เดือน ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี สาเหตุมาจาก ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรังจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานและการสัมผัสกับมลภาวะเป็นระยะเวลานาน เช่น ฝุ่น ควัน

     นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่าโรคหลอดลมอักเสบสามารถป้องกันได้หลายวิธี ได้แก่ 1.พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ 2.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ควัน ฝุ่น สารเคมี หรือสารระคายเคืองต่างๆ 3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศเย็น และอากาศจากเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมโดยตรง เนื่องจากทำให้ร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง และกระตุ้นเยื่อบุหลอดลมให้อักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการไอมากยิ่งขึ้น 4.ควรให้ความอบอุ่นร่างกายขณะนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เช่น การห่มผ้าหรือสวมเสื้อผ้าหนาๆ 5.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย
วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ทั้งนี้ควรดูแลรักษาสุขภาพและรับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและมีอนามัยที่ดีอยู่เสมอ หากพบอาการผิดปกติ เช่น ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอกเวลาไอ ไอมากจนรบกวนการรับประทานอาหารหรือการนอนหลับพักผ่อนควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

************************************************

#กรมการแพทย์  #รพราชวิถี  #หลอดลมอักเสบ  #ไอเรื้อรัง

– ขอขอบคุณ –
27 ธันวาคม 2561

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility