แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

กระตุ้นดูแลสุขภาพเด็กยันคนชรา – โรงพยาบาลราชวิถี

กระตุ้นดูแลสุขภาพเด็กยันคนชรา

  • -

กระตุ้นดูแลสุขภาพเด็กยันคนชรา

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กยันคนชรา

        สุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลตระหนักและหาแนวทางที่จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ได้มีการจัดตั้งเขตสุขภาพขึ้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. 2559 จำนวน 13 เขตทั่วประเทศ ขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพให้เกิดการบูรณาการ เพื่อการจัดการสุขภาพทุกมิติ

          นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการแถลงข่าวและการประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 13 กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัยจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 1/2560 มีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคส่วนเกี่ยวข้องร่วม ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) โดยกล่าวว่า ปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลตระหนักและหาแนวทางที่จะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี ได้มีการจัดตั้งเขตสุขภาพขึ้น ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน พ.ศ. 2559 จำนวน 13 เขตทั่วประเทศ ขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพให้เกิดการบูรณาการ เพื่อการจัดการสุขภาพทุกมิติ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาควิชาการ เอกชน ประชาสังคม และส่วนอื่นที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับสุขภาพของคน ชุมชน และสังคมตามแนวคิด “ประชารัฐ” สร้างความเป็นเจ้าของและความผูกพันร่วมรับผิดชอบขับเคลื่อนงาน ยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นศูนย์กลาง

          โดยกรุงเทพมหานครเป็นเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 13 มีคณะกรรมการฯ รวม 46 คน โดยผู้ว่าฯกทม.มอบหมายรองผู้ว่าฯกทม.เป็นประธาน ปลัดกทม.เป็นรองประธาน คณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ 18 คน อาทิ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) หน่วยงาน กทม. ผู้ทรงคุณวุฒิและวิชาชีพ 11 คน ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม 15 คน ร่วมกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การดำเนินการและพัฒนาระบบสุขภาพในเขตพื้นที่ให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในครอบครัว และชุมชน ทุกคนได้รับประโยชน์สูงสุดและมีแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่างยั่งยืน

          รองผู้ว่าฯกทม.กล่าวอีกว่า ในการประชุมครั้งแรกได้พูดถึงนโยบายเขตสุขภาพในภาพรวมของกรุงเทพฯ โดยมองถึงสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม รวมถึงปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของคนกรุงเทพฯ โดยแยกกลุ่มอายุตาม วัยเด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ มีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง รวมไปถึงโรคติดต่อต่างๆ รวบรวมข้อมูลสุขภาพของคนกรุงเทพฯ และแผนดำเนินการของแต่ละหน่วยงาน นำมาประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 12 ตุลาคม 2560 เพื่อคณะกรรมการฯ จะได้ร่วมกัน กำหนดยุทธศาสตร์เป้าหมายการดำเนินงานตลอดจนแนวทางปฏิบัติงาน

ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility