แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

คัดยาแผนไทย100ตำรับขึ้นทะเบียนชาติ – โรงพยาบาลราชวิถี

คัดยาแผนไทย100ตำรับขึ้นทะเบียนชาติ

  • -

คัดยาแผนไทย100ตำรับขึ้นทะเบียนชาติ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาแผนไทย

สาธารณสุข (สธ.) ตั้งเป้าปี 60 คัดเลือกยาแผนไทย 100 ตำรับขึ้นทะเบียนตำรับยาแห่งชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ใน 4 กลุ่มโรค คือ กลุ่มโรคโลหิตระดูสตรี กลุ่มโรคเด็ก กลุ่มโรคลม และกลุ่มโรคไข้

นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดทำตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2560 ว่า สธ.มีนโยบายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยที่สืบทอดเป็นสมบัติของชาติตั้งแต่ปี 2542 โดยมีการออกประกาศกระทรวงฯ คุ้มครองตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ 198 ตำรา และตำรับยาแผนไทยของชาติ 14,988 ตำรับ โดยในสิ้นปีงบประมาณ 2560 คณะกรรมการจัดทำตำรับยาแผนไทยแห่งชาติจะคัดเลือกตำรับยาแผนไทยให้เป็นตำรับยาแผนไทยแห่งชาติให้ได้ 100 ตำรับ ซึ่ง มิ.ย. ที่ผ่านมาสามารถคัดเลือกได้แล้ว 42 ตำรับ จาก 4 กลุ่มโรค คือ กลุ่มโรคโลหิตระดูสตรี กลุ่มโรคเด็ก กลุ่มโรคลม และกลุ่มโรคไข้ ยังขาด อีก 58 ตำรับที่จะประกาศให้ได้ภายใน ก.ย.2560

นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การคัดเลือกยาแผนไทยจะคัดเลือกมาจาก 3 ส่วนคือ ตำรับยาแผนไทยของชาติที่ได้รับการคุ้มครอง ตำรับยาพื้นบ้าน และตำรับยาที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน เนื่องจากที่มีอยู่บางส่วนไม่ได้มีการใช้จริง หรือไม่สามารถใช้ได้ เพราะวัตถุดิบของตำรับยานั้นเป็นของหายาก หรือเป็นสัตว์ป่าสงวน จึงต้องมีการคัดเลือกเป็นตำรับยาแห่งชาติ ต้องพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลจริงในปัจจุบัน โดยจะนำไปดำเนินการต่อใน 4 เรื่อง คือ 1.นำไปบรรจุ ในหลักสูตรการเรียนการสอนของแพทย์แผนไทยในมหาวิทยาลัย 2.เป็นฐานข้อมูลในการตรวจสอบ การอ้างอิงขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนไทยของผู้ประกอบการต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 3.วิจัยและพัฒนามาตรฐานใน การผลิต และ 4.ผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักแห่ง ชาติ เพื่อให้โรงพยาบาลทุกระดับนำไปใช้ทดแทน ยาแผนปัจจุบัน

สำหรับตำรับยาแผนไทยที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตำรับยาแผนไทยแห่งชาติแล้ว จำนวน 42 ตำรับ ได้แก่ 1.ยาหอมน้อย 2.ยาแก้ตานซาง 3.ยาแก้ซางเพลิง 4.ยาแผ้วฝ้า 5.ยาแก้เจ็บคอ แก้ไอ แก้อาเจียน แก้สะอึก 6.ยาแก้ระดูขัด 7.ยาแก้หญิงไม่มีระดูผอมแห้ง 8.ยาศุภมิตร 9.ยา ครรภ์รักษา 10.ยาหญิงมีครรภ์ได้ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน แม่เป็นพรรดึก 11.ยากินเมื่อคลอดลูก 12.ยาแก้อยู่ไฟไม่ได้ 13.ยาจำเริญอายุวัฒนะ 14.ยาหอมทิพโอสถ 15.ยาหอมเทพจิตร 16.ยาหอม นวโกฐ 17.ยาหอมอินทจักร์ 18.ยาจันทลีลา 19. ยาประสะจันทน์แดง 20.ยาแสงหมึก 21.ยาตรี หอม 22.ยาเขียวหอม 23.ยาประสะเปราะใหญ่ 24.ยาประสะกะเพรา 25.ยามหาจักรใหญ่ 26.ยา มหานิลแท่งทอง 27.ยากำลังราชสีห์ (ยาต้ม) 28.ยากำลังราชสีห์ (ยาผง) 29.ยาบำรุงเลือด 30.ยาต้มบำรุงเลือด 31.ยานนทเสน 32.ยาพรหม พักตร์ 33.ยาผายโลหิต 34.ยาสุวรรณเกษรา 35.ยาประสะไพล 36.ยาประสะผิวมะกรูด 37.ยาแก้ ไขทับระดู/ระดูทับไข้ (ขนานที่ 1) 38.ยา แก้ไขทับระดู/ระดูทับไข้ (ขนานที่ 2) 39.ยาประสะว่านนางคำ 40.ยาปลูกไฟธาตุ 41.ยาต้มประสะน้ำนม และ 42.ยาชำระโลหิต น้ำนม

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีกรมบัญชีกลางต้องการให้มีการควบคุมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลว่า กรมบัญชีกลางและ สธ.ทำในเรื่องเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อดื้อยาซึ่งเป็นนโยบายระดับชาติ แต่ต่างกันที่วิธีการ โดยกระบวนการของกรมบัญชีกลาง เพราะอยากควบคุมเรื่องนี้ไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน และไม่ให้เกิดการช็อปปิ้งยาไปให้คนอื่น ซึ่งตนก็มองว่าเป็นกระบวนการที่ถูกต้อง และกระทรวงสาธารณสุขนั้นจะดำเนินการโดยการรณรงค์เต็มที่ใน รพ.ในสังกัดกระทรวงทุกระดับ รพ.ของมหาวิทยาลัย และ รพ.ของกระทรวงกลาโหมให้มีหลักการใช้ยาหรือสารอาหารจากสมุนไพรไทย หากไม่จำเป็นไม่ต้องใช้ยาจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งของการควบคุม ป้องกันเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล ยังเป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศด้วย เช่น หากเป็นหวัดธรรมดาก็ยังไม่ต้องใช้ยาแอนตี้แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เกิดการดื้อยาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะใช้ยาฟ้าทะลายโจรก่อนก็ได้ นอกจากนี้ยังได้รณรงค์เพื่อควบคุมดูแลในร้านขายยาที่สามารถหาซื้อได้ง่าย ว่าหากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องหาซื้อยาปฏิชีวนะที่มีราคาแพงมากินก็ได้ นอกจากนี้ยังตั้งเป้าว่าจะสามารถขึ้นทะเบียนยาแผนไทยทั้งหมดเป็นจำนวน 100 ตำรับภายใน 3 เดือนนี้ หรือสิ้นปีงบประมาณ 2560 อย่างไรก็ตาม การใช้ก็ต้องมีข้อบ่งชี้ เพราะยาทุกชนิดไม่สามารถใช้อย่างพร่ำเพรื่อได้.

ที่มา : ไทยโพสต์

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility