แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

ไข้เลือดออกน่าห่วง เผยผู้ป่วยติดเชื้อพุ่ง คนกรุงมากสุด ลุ้นขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกัน – โรงพยาบาลราชวิถี

ไข้เลือดออกน่าห่วง เผยผู้ป่วยติดเชื้อพุ่ง คนกรุงมากสุด ลุ้นขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกัน

  • -

ไข้เลือดออกน่าห่วง เผยผู้ป่วยติดเชื้อพุ่ง คนกรุงมากสุด ลุ้นขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกัน

ไข้เลือดออก 2 เดือนแรก สถานการณ์อันตราย สาธารณสุข เผย ผู้ป่วยพุ่งกว่าปีก่อน 2 เท่า คนกรุงติดเชื้อมากสุด 2 พันราย ขณะที่นักวิจัยลุ้นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกผ่าน อย. หรือไม่ คาดรู้ผลกลางปีนี้ เผยป้องกันโรคได้ถึง 80%

ไข้เลือดออก
นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวแสดงความเป็นห่วงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศ หลังพบว่า 2 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 8,651 คน เสียชีวิต 1 คน ซึ่งสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 ถึง 2 เท่าตัวที่พบผู้ป่วยเพียง 4,263 คน นับว่าสถานการณ์ในปี 2559 นี้ อันตรายและน่าเป็นห่วงมาก 

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า ภาคกลางมีผู้ป่วยมากที่สุดคือ 4,431 คน รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคใต้ และภาคเหนือ โดยกรุงเทพมหานคร พบผู้ป่วยสูงสุด 2,223 คน รองลงมาศรีสะเกษ 355 คน สงขลา 335 คน กลุ่มอายุที่ป่วยส่วนใหญ่ 10-14 ปี รองลงมา 5-9 ปี อาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน ทั้งนี้คาดว่าปีนี้ไข้เลือดออกอาจระบาดหนักเช่นเดียวกับปี 2556 ที่พบผู้ป่วยในช่วงเดียวกัน 11,000 คน และทั้งปีมีผู้ป่วยเกือบ 1.6 แสนคน

ด้วยเหตุนี้ทางกระทรวงจึงกำชับโรงพยาบาลทุกแห่งให้เข้มงวดตรวจรักษาโรคไข้เลือดออก เพื่อป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด พร้อมมอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รณรงค์ให้ประชาชนทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน ร่วมกับมาตรการ 3 เก็บ คือ เก็บกวาดบ้านให้สะอาด เก็บขยะเศษภาชนะรอบ ๆ บ้าน และปิดภาชนะเก็บน้ำกินน้ำใช้ให้สนิท ไม่ให้เป็นแหล่งที่ยุงลายจะวางไข่ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

วันเดียวกัน ที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน รศ. นพ.ชูเกียรติ ศิริวิชยกุล หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และหนึ่งในผู้วิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก เปิดเผยว่า ทีมวิจัยของคณะได้ร่วมกับซาโนฟี่ ปาสเตอร์ (Sanofi Pasteur) และหลายประเทศพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก CYD หรือ Dengvazia มาตั้งแต่ปี 2551 โดยจากการทดลองในคนรวมทั้งเด็กไทยพบว่าได้ผลดี สามารถป้องกันไวรัสเด็งกีครอบคลุม 4 สายพันธุ์ รวมถึงป้องกันสายพันธุ์ที่รุนแรงได้มากถึงร้อยละ 80.8 หากฉีดวัคซีนให้ผู้ที่มีอายุ 9 ปีขึ้นไป แต่หากอายุต่ำกว่า 9 ปี จะป้องกันได้ร้อยละ 56.1 

หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์เขตร้อน ระบุด้วยว่า ผลข้างเคียงจากวัคซีนมีเพียงอาการไข้เล็กน้อยเท่านั้น ส่วนอาการรุนแรงมีไม่ถึงร้อยละ 5 ขณะนี้ในประเทศเม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และบราซิล ได้จดทะเบียนใช้วัคซีนไข้เลือดออกแล้ว โดยใช้ป้องกันโรคได้ในอายุ 9-45 ปี ขณะที่ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างนำวัคซีนตัวนี้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งจะรู้ผลไม่เกินเดือนกรกฎาคมปีนี้ 

รศ. นพ.ชูเกียรติ กล่าวอีกว่า วัคซีนดังกล่าวจะนำมาฉีดฟรีให้ประชาชนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับกระทรวงสาธารณสุขจะพิจารณาถึงประสิทธิภาพความคุ้มค่าและเมื่อเทียบกับราคาของวัคซีน CYD ว่าจะสามารถป้องกันไข้เลือดออกในคนไทยได้มากน้อยเท่าไร โดยต้องฉีด 3 เข็ม เว้นระยะ 6 เดือน อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลระบุชัดว่าการฉีดวัคซีนจะป้องกันโรคได้นานเท่าไร ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน ซึ่งเฉลี่ยประมาณ 3-5 ปี

 

ที่มา:https://sukkapab.com

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility