แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

อาการปวดส้นเท้า สัญญาณของ “โรครองช้ำ” – โรงพยาบาลราชวิถี

อาการปวดส้นเท้า สัญญาณของ “โรครองช้ำ”

  • -

อาการปวดส้นเท้า สัญญาณของ “โรครองช้ำ”

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรครองช้ำ

อาการปวดส้นเท้ามีความหลากหลายซ่อนอยู่ บางอาการอาจเป็นเพียงปวดเมื่อยธรรมดา หรือเป็นอาการบาดเจ็บชั่วคราวของกล้ามเนื้อ แต่บางอาการก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่ต้องได้รับการรักษา ขณะที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนและละเลยอาการป่วยนั้นไปทำให้ส่งผลเสียตามมา วันนี้เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดส้นเท้าที่เป็นสัญาณของโรครองช้ำ เพื่อให้หลายคนได้สังเกตอาการเบื้องต้นกันและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

อาการของโรครองช้ำนี้คือปวดบริเวณส้นเท้าไปจนถึงฝ่าเท้า โดยเฉพาะก้าวแรกหลังจากตื่นนอนหรือหลังจากนั่งพักนานๆ โรคนี้เป็นโรคที่คนส่วนใหญ่เป็นแต่ไม่รู้ว่าตัว พบมากในคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุของโรคเกิดจากการรับน้ำหนักเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นที่ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก พบได้บ่อยกับผู้ที่ต้องยืนเป็นเวลานานระหว่างวัน นอกจากนี้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นก็อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ หรือสวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า เป็นต้น รวมถึงลักษณะการทำกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เพิ่มระยะทางการวิ่งออกกำลังกาย การเดินหรือวิ่งบนพื้นผิวที่ต่างไปจากเดิม ที่ทำให้เกิดโรคได้ โครงสร้างร่างกายบางครั้งก็มีความเสี่ยง เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไปหรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่อง ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ

อาการหลักๆ ของโรคนี้คือ อาการเจ็บที่ส้นเท้าแล้วลามไปทั่วฝ่าเท้า ลักษณะของอาการเจ็บจะเป็นแบบปวดจี๊ดขึ้นมาและปวดอักเสบ โดยความเจ็บปวดจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละน้อย อาการปวดจะรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก นอกจากนี้อาจมีอาการปวดขึ้นได้ในระหว่างวัน

การรักษาสามารถรักษาได้โดยการไม่ต้องผ่าตัด การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการนวดบริเวณฝ่าเท้า การนำเท้าแช่ในน้ำอุ่นเป็นเวลา 5-10 นาที ส่วนการรับประทานยาก็สามารถช่วยได้เช่นกัน แต่หลักๆ อยู่ที่การทำกายภาพบำบัด ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาแต่ละคนไม่เท่ากัน ส่วนการผ่าตัดมีความเสี่ยงมากกว่า เพราะจะผ่าตัดบริเวณผังผืดที่อักเสบออกไป ซึ่งบางคนเมื่อผ่าตัดไปแล้วอาจจะทำให้เท้าแบนถาวรได้

แม้โรครองช้ำจะไม่ใช่โรคที่อันตรายหรือร้ายแรง แต่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นหากมีอาการปวดส้นเท้าผิดปกติควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ที่มา : รามาแชนแนล Rama Channel

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility