แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

‘ปวดคอ’ ภัยเงียบใกล้ตัว – โรงพยาบาลราชวิถี

‘ปวดคอ’ ภัยเงียบใกล้ตัว

  • -

‘ปวดคอ’ ภัยเงียบใกล้ตัว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ปวดคอ'

ปวดคอ บ่า ไหล่ ใครไม่เคยเป็น-ไม่มี้หนักกว่านี้ก็เป็นมาแล้ว เหมือนมีใครขี่อยู่บนคอ นอนก็ไม่ค่อยหลับ

ออฟฟิศซินโดรมแม้ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ แต่เกิดกับคนทุกวัย เป็นโรคของคนรุ่นใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์ใช้มือถือเป็นประจำ ด้วยอากัปกิริยาของการยืนนั่งนอนเดินก็ก้มๆ จิ้มๆ ปาดๆ สมาร์ทโฟน ทำให้กล้ามเนื้อยึดแน่นเป็นปม โดยมากจะเกิดที่คอ บ่า ไหล่ ไปจนถึงมือและหลัง

ถ้าปล่อยไว้นานเกินไปย่อมกระทบกับคุณภาพชีวิต 

โดยเฉพาะในกรณีของ “การปวดคอ”ที่หลายคนมองข้ามความสำคัญ คิดว่าแค่นวดสักชั่วโมง หรือกินยา นวดยา เดี๋ยวก็หาย

นพ.วรายศ ตราฐิติพันธุ์ ศัลยกรรมกระดูกและข้อ หน่วยกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ บอกว่า ปัจจุบันมีคนไข้ที่เข้ามาปรึกษาในคลินิกกระดูกและข้อด้วยอาการไม่ว่าจะเป็นปวดคอ บ่า ไหล่ หรือออฟฟิศซินโดรมมากที่สุด และพบในทุกเพศทุกวัย

“แนวโน้มพบเจอในคนไข้ที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากอิริยาบถที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันจากการใช้สื่อ การใช้โทรศัพท์มือถือ ที่อยู่ในลักษณะของการก้มคอมากๆ ซึ่งไม่ถูกสุขลักษณะ”

ทั้งนี้ อาการของการปวดคอแบ่งเป็นง่ายๆ 2 ลักษณะ คือ แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง ซึ่งในระยะเฉียบพลันนั้นส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ จะมีจุดกดเจ็บอยู่ชัดเจนบริเวณสะบักหรือบริเวณคอด้านหลัง

ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับกลุ่มออฟฟิศซินโดรม พวกนั่งนานๆ อยู่ในอิริยาบถของคองุ้ม ไหล่งุ้ม ไม่ถูกสุขลักษณะ จึงมีอาการล้าของกล้ามเนื้อสะบัก กล้ามเนื้อคอได้ง่าย

เบื้องต้นสามารถดูแลตนเองด้วยการฝึกยืดกล้ามเนื้อเอง หรือใช้ยานวดยาทา หรือใช้ยาแก้อักเสบกินเบื้องต้นได้ แต่ถ้ากินแล้ว 1-2 อาทิตย์ไม่ดีขึ้นเลย อาจจะต้องเข้ามาตรวจเพิ่ม

ซึ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถแล้วไม่ดีขึ้น อาจต้องปรึกษาแพทย์ มีการซักประวัติเพิ่มเติม รวมทั้งการตรวจวินิจฉัย เช่น การใช้รังสีเอกซเรย์ รวมถึงการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดูว่าเป็นกลุ่มโรคของหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นมากดทับกระดูกไขสันหลังหรือรากประสาทหรือไม่ ซึ่งตรงนี้จะทำให้มีอาการชาวิ่งลงแขนสองข้าง หรือมีอาการอ่อนแรงมือ

สัญญาณอันตรายที่บ่งชี้ว่าคนไข้ควรพบแพทย์คือ อาการปวดที่เป็นลักษณะของการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น หรือข้อต่อ

“จุดที่อันตรายคือ มีอาการชาหรืออ่อนแรงมือ หรือมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อมากๆ ใช้แล้วไม่คล่อง เช่น จับช้อนจับตะเกียบไม่ถนัด หรือทำให้ลายมือเปลี่ยน ฯลฯ” คุณหมอวรายศบอกทางด้าน พีรพงษ์ วงษ์สวรรค์ นักกายภาพบำบัด บอกว่า เบื้องต้นต้องดูว่าอาการปวดคอนั้นมาจากกระดูกสันหลังหรือกล้ามเนื้อ ถ้ามาจากกระดูกสันหลังส่วนคอ (จากท้ายทอยจนถึงระดับปกเสื้อ) จะมีการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังลดลง ทำให้ปวดคอ จะใช้เครื่องดึงกระดูกสันหลังส่วนคอ ซึ่งมีการคำนวณน้ำหนักว่าน้ำหนักตัวเท่าไร ต้องดึงแค่ไหน ทำให้อาการชาปลายมือปลายแขนลดลง

หรืออาจทำร่วมกับการใช้ “เครื่องช็อกเวฟ” (Radial Shockwave Therapy) หรือ “คลื่นกระแทก” เทคโนโลยีที่เป็นตัวเลือกใหม่ เพื่อลดปัญหากล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และข้อต่อที่มีอาการปวดมานานหรือเรื้อรัง ซึ่งแต่เดิมทางการแพทย์จะใช้คลื่นกระแทกในการรักษานิ่วในไตที่ไม่ใช้การผ่าตัด เป็นการใช้คลื่นกระแทกให้ก้อนนิ่วสลายตัว ต่อมาปรับมาใช้กับเอ็นและเนื้อเยื่อพังผืด เพราะคลื่นกระแทกจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมตนเองด้วย กระตุ้นการสร้างเส้นเลือด เส้นประสาทใหม่ ทำให้การบาดเจ็บที่มีอาการปวดอักเสบเรื้อรังมานานเกิดจากการที่ร่างกายลืมซ่อมแซมตัวเอง และยอมรับอาการปวดที่เกิดขึ้น กลับมาทำงานใหม่อีกครั้ง

ทั้งนี้ กลุ่มอาการที่ได้ผลดีในการรักษาด้วยคลื่นกระแทก อาทิ ออฟฟิศซินโดรม กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท เอ็นข้อมืออักเสบ รองช้ำ เอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวายเรื้อรัง เป็นต้น และยังช่วยคลายกล้ามเนื้อได้ดีอีกด้วย

ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม สิทธิบัตรทอง หรือสิทธิ 30 บาทรักษาทุกโรค สามารถใช้บริการตรวจเช็กอาการปวดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้ตามปกติ

ที่มา : มติชน

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility