แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

“แสงสีฟ้า” ตัวการทำร้ายผิว – โรงพยาบาลราชวิถี

“แสงสีฟ้า” ตัวการทำร้ายผิว

  • -

“แสงสีฟ้า” ตัวการทำร้ายผิว

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

        มลภาวะที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน รวมทั้งความเครียด ล้วนเป็นตัวการทำร้ายผิวทั้งนั้น แล้วไหนจะความร้อนจากแสงแดด ที่พอเข้าหน้าร้อนทีไร ก็จะต้องพกร่ม หมวก ใส่เสื้อคลุม สวมแว่นกันแดด ให้วุ่นวายไปหมด ผู้หญิงหลายคนเลยแก้ปัญหาโดยการไม่ออกไปไหนซะเลย พอไม่ต้องโดนแดดก็เลยไม่ทาครีมกันแดด แต่รู้ตัวไหมว่าคุณกำลังคิดผิด ?

          อยู่แค่ในร่มใช่ว่าผิวจะไม่เสีย  นอกจากแสงแดดที่เราสัมผัสกันอยู่ทุกวันแล้ว ผู้หญิงหลายคนอาจคิดว่าการหลบอยู่ในที่ร่ม หรืออยู่แต่ในที่ทำงานสามารถป้องกันผิวจากอันตรายต่างๆ ได้ แต่นั่นคือความเข้าใจผิด เพราะแม้ในวันที่ไม่มีแดดจัด อย่างเช่น วันที่ฝนตก หรือ วันที่มีเมฆมาก ผิวก็ถูกทำร้ายทางอ้อมได้เช่นกัน สาเหตุที่แท้จริงมาจากอะไรกันแน่ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องรู้เท่าทันเพื่อไม่ให้สายเกินแก้จนผิวแก่กว่าวัย

          ชีวิตติดจอ! ระวังอันตรายจาก “แสงสีฟ้า”   ในปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน (Smartphone) คอมพิวเตอร์แบบพกพา (Tablet) หรือแบบตั้งโต๊ะ แทบจะกลายเป็นปัจจัยที่ห้าสำหรับมนุษย์ทุกคนไปแล้วอย่างน้อยต้องมี 1 ชิ้นแน่นอน ประโยชน์ก็คือไว้ติดต่อสื่อสาร เล่นเกม ใช้โซเชียล ช็อปปิ้งออนไลน์ ดูละคร อ่านข่าว และผลสำรวจบอกว่าใน 1 วัน เฉลี่ยแล้วคนไทยใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมงกับสิ่งเหล่านี้ เท่ากับว่า 1 ส่วน 4 ของวันเลยทีเดียว เรียกว่าตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ชีวิตอยู่กับหน้าจอ

          ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ แสงสีฟ้า (blue light) ที่มาในรูปแบบของคลื่นแสงพลังงานสูง ที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่า 300 นาโนเมตร ซึ่งประสาทตาของมนุษย์สามารถสัมผัสความยาวคลื่นที่อยู่ระหว่าง 400 – 700 นาโนเมตรเท่านั้น (ลองดูภาพประกอบ) ซึ่งแสงที่ผสมอยู่ในช่วงแสงสีขาวแบ่งได้ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง ลองนึกภาพสายรุ้งจะเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

          ซึ่งแสงสีฟ้าที่ว่านี้จะผสมอยู่ในช่วงน้ำเงินกับคราม และมีอยู่รอบๆ ตัว พบได้ในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ แต่ที่พบมากที่สุด คือหน้าจอคอมพิวเตอร์และมือถือสมาร์ทโฟน นั่นเอง

          แล้วอันตรายของแสงที่ว่านี้มีอะไรบ้าง อย่างแรกแน่นอนว่ามีผลต่อการเสื่อมสภาพของเซลล์เยื่อชั้นในลูกตา หรือโรคจอประสาทตาเสื่อมโดยตรง ในขณะที่นั่งแชตและบางคนกลางคืนยังนอนแชตในห้องที่แสงน้อย ไม่ได้ทำร้ายแค่สายตาเท่านั้น แต่กลับเป็นตัวทำลายใบหน้าให้หมองคล้ำและเหี่ยวย่น เนื่องมาจากขาดความชุ่มชื้น ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็คือเกิดสิว ฝ้า กระ แบบไม่รู้ตัว

          รู้จัก “อินฟราเรด” ตัวการทำลายผิวนอกจากแสงสีฟ้าที่เป็นตัวการทำร้ายผิวของเราแล้ว ก็ยังมี รังสี “อินฟราเรด” ที่แฝงตัวมากับแสงอาทิตย์ ต้องเข้าใจก่อนว่าในแสงอาทิตย์ที่ส่องมานั้น ประกอบด้วย รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet, UV) แบ่งเป็น UVA, UVB และ UVC (โอโซนในบรรยากาศได้กรอง UVC ออกไป), แสงที่มองเห็นได้ (Visible light) และ รังสีอินฟราเรด (Infrared) ซึ่งมีปริมาณมากกว่า 50% ของรังสีที่ตกกระทบมายังโลก

          “รังสีอินฟราเรด” หรือ รังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 0.75 ไมโครเมตร – 1 มิลลิเมตร ซึ่งส่งผลเสียกับผิวหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น สร้างริ้วรอย แก่ก่อนวัย ผิวหมองคล้ำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ ?คอลลาเจนในเนื้อผิวหายไป และที่ร้ายแรงที่สุดคือมะเร็งผิวหนังนั่นเอง

          เลือกผลิตภัณฑ์กันแดดอย่างไรปกป้องสูงสุด

          เมื่อรู้แล้วว่าตัวการทำร้ายผิวบอบบางของเรานั้นมีหลากหลายประเภท ฉะนั้นการปกป้องผิวคือสิ่งที่จำเป็นที่สุด ซึ่งวิธีง่ายๆ ก็แค่การรู้จักเลือกผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีมากกว่าการปกป้องรังสียูวีเพียงอย่างเดียว เพราะแค่ค่าเอสพีเอฟ (SPF) ที่สูงอย่างเดียว ไม่สามารถปกป้องผิวได้ 100% แน่นอน

          สาวๆ ทั้งหลายเมื่อถึงคราวต้องเลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดด ไม่ว่าจะเป็นแบบครีม เจล โลชั่น หรือสเปรย์ ลองพิจารณาให้ดีเสียก่อน โดยให้คำนึงถึงคุณสมบัติต่อไปนี้คือ “ปกป้อง” รังสีหรือแสงต่างๆ อีกทั้งยังช่วย “บำรุง” ให้ผิวกลับมาสุขภาพดี ชะลอริ้วรอยลึกก่อนวัย และยังต้อง “กระจ่างใส” แลดูเป็นธรรมชาติ

          เพียงแค่นี้เราก็สามารถปกป้องผิวให้แกร่งสู้แดด พร้อมใช้ชีวิตให้สนุกและสตรองได้แล้ว

ที่มา: เว็บไซต์ไทยรัฐ

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility