แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

อย. เตือนระวัง ยาจุดกันยุง ผสมเมเพอร์ฟลูทริน อันตราย – โรงพยาบาลราชวิถี

อย. เตือนระวัง ยาจุดกันยุง ผสมเมเพอร์ฟลูทริน อันตราย

  • -

อย. เตือนระวัง ยาจุดกันยุง ผสมเมเพอร์ฟลูทริน อันตราย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยาจุดกันยุง

อย. เตือนระวัง ยาจุดกันยุง ผสมเมเพอร์ฟลูทริน อันตราย

อย. เตือน ระวัง ยาจุดกันยุง และธูปหอมไล่ยุงผิดกฎหมาย 5 ผลิตภัณฑ์ ฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ พบผสมสารเมเพอร์ฟลูทริน ซึ่งเป็นสารที่ อย. ยังไม่เคยรับขึ้นทะเบียนมาก่อน จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าซื้ออย่าใช้ยา จุดกันยุง และธูปหอมไล่ยุงดังกล่าว เพราะอาจได้รับอันตรายได้ เนื่องจากสารนี้ยังไม่มีข้อมูลวิชาการยืนยันในด้าน ความปลอดภัย

เภสัชกร สมชาย ปรีชาทวีกิจ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่ส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ อย. ออกสุ่มตรวจสอบผลิตภัณฑ์ สุขภาพในท้องตลาดอย่างสม่ าเสมอ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภคนั้น ล่าสุดได้ตรวจพบว่ามีการ จ าหน่ายยาจุดกันยุง และธูปหอมไล่ยุงในหลายจังหวัดทางภาคอีสาน จ านวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1.) ผลิตภัณฑ์ธูป หอมไล่ยุงฉลากภาษาจีน บรรจุกล่องกระดาษสีเหลือง-สีฟ้า 2.) ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุงฉลากเป็นภาษาเขมร บรรจุ กล่องกระดาษสีเขียว-สีเหลือง 3.) ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุง Ranger Scout บรรจุกล่องกระดาษสีน้ าเงิน-สีเขียว 4.) ผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงชนิดขดตราหัวเสือฉลากเป็นภาษาจีน บรรจุกล่องกระดาษสีแดง-สีขาว ห่อด้วยพลาสติก ใสไม่มีสี 5.) ยาจุดกันยุงชนิดขดตรา Laojun ปิดด้วยแผ่นกระดาษ สีฟ้า-สีเหลือง-สีด า มีรูปเด็กบนฉลาก ฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ จากการตรวจสอบพบว่าทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่ง ต้องขึ้นทะเบียน แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ได้มีการส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการตรวจพบว่ามีสารเมเพอร์ ฟลูทริน (Meperfluthrin) เป็นสารส าคัญในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสารที่ อย. ไม่เคยรับขึ้นทะเบียนมาก่อน ไม่ผ่าน การประเมินด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ รวมถึงความเหมาะสมของอัตราการใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความ เสี่ยงอันตรายต่อผู้ใช้ได้ รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การน าเข้าและจ าหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มิได้ขึ้นทะเบียนมีความผิดทาง กฎหมาย ทั้งนี้ผู้บริโภคควรให้ความส าคัญและตรวจดูเลขทะเบียน และเครื่องหมาย อย. ในผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ ด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัย ใช้แล้วไม่เกิดอันตราย

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility