แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

เปิด 3 อาการคุกคาม“วัยทำงาน” – โรงพยาบาลราชวิถี

เปิด 3 อาการคุกคาม“วัยทำงาน”

  • -

เปิด 3 อาการคุกคาม“วัยทำงาน”

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัยทำงาน

สพฉ. เผยคนวัยทำงานป่วยโรคฉุกเฉิน เหตุเครียด ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ระบุอุบัติเหตุยานยนต์ครองแชมป์ป่วยมากสุด รองลงมาเป็นอ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง และปวดท้อง หลัง เชิงกราน เหตุเครียด ไม่มีเวลาพักผ่อน ใช้เวลาอยู่กับงานมาก ห่วงเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจขาดเลือด

ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันแรงงาน ซึ่งวัยแรงงานถือเป็นกำลังหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่คนกลุ่มนี้ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะมีโรคและอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินคุกคาม โดยตลอดปี 2559 สพฉ. ได้สรุปสถิติโรคฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับคนไทย โดยเฉพาะในช่วงวัยทำงาน อายุ 20-60 ปี พบว่า มีการแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 ในเรื่องอุบัติเหตุยานยนต์มากที่สุด ซึ่งได้รับแจ้งเหตุในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คือ 35,758 ครั้ง ส่วนผู้หญิง 18,114 ครั้ง

รองลงมาคือมีอาการป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง โดยได้รับแจ้งเหตุในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเช่นกัน คือ ชาย ได้รับแจ้ง 15,773 ครั้ง หญิงได้รับแจ้ง 13,680 ครั้ง ขณะที่อันดับ 3 คือ อาการปวดท้อง หลัง เชิงกราน ได้รับแจ้งเหตุในเพศชาย 10,024 ครั้ง และเพศหญิง 8,270 ครั้ง

ร.อ.นพ.อัจฉริยะ กล่าวว่า สาเหตุที่คนวัยทำงานเป็นโรคมากขึ้น เนื่องจากมีความเครียด ไม่มีเวลาพักผ่อน และใช้เวลาอยู่กับการทำงานค่อนข้างมาก ขณะที่คนเมืองยังต้องเผชิญกับความเครียดจากปัญหาการจราจรที่ติดขัด ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพอย่างหนัก ซึ่งหนึ่งในโรคที่น่าเป็นห่วง คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ (STROKE) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ซึ่งคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง มีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคหัวใจ สูบบุหรี่เป็นประจำ ขาดการออกกำลังกาย

โรคนี้จะสังเกตอาการได้ง่ายๆ คือ ผู้ป่วยจะมีอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบ พลัน มึนงง วิงเวียน ทรงตัวไม่ได้ ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ ซึ่งส่วนมากทุกอาการจะเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างฉับพลัน และอีกโรค คือ โรคภาวะหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) ซึ่งอาการของผู้ป่วยนั้น จะมีอาการเจ็บแน่น จุกเสียดที่หน้าอกหรือท้องส่วนบน หรือมีอาการแน่นเหนื่อยขึ้นมาทันที ร่วมกับอาการหายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ซึ่งเมื่อมีอาการดังกล่าวให้รีบโทร.แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์

“อยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพของตนเองให้ดีเพื่อให้ปลอดจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินในทุกๆ โรค ที่สำคัญ ต้องออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ตรวจเช็กสุขภาพประจำปี หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และที่สำคัญคือ ต้องไม่เครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ และลดความเครียดจากการทำงาน ที่ หากเจ็บป่วยฉุกเฉินก็ให้รีบโทร.แจ้งสายด่วน 1669” เลขาธิการ สพฉ. กล่าว

ที่มา : เว็บไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility