แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

วัคซีนป้องกัน “นิวโมค็อกคัส” ลดเสี่ยงติดเชื้อ – โรงพยาบาลราชวิถี

วัคซีนป้องกัน “นิวโมค็อกคัส” ลดเสี่ยงติดเชื้อ

  • -

วัคซีนป้องกัน “นิวโมค็อกคัส” ลดเสี่ยงติดเชื้อ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฉีดวัคซีน

มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน และสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้จัดแถลงข่าวโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมค็อกคัส เพื่อเด็กกลุ่มเสี่ยง ปีที่ 2 เนื่องในสัปดาห์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (World Immunization Week 2017) เพื่อเดินหน้ารณรงค์ให้ความรู้ พร้อมยกระดับคุณภาพเด็กไทย

นพ.มานิต ธีรตันติกานนท์ ประธานมูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน และ รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าวที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้สัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายนของทุกปี หรือระหว่างวันที่ 24-30 เมษายน เป็นสัปดาห์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก โดยในปีนี้ได้ส่งเสริมเรื่อง “Vaccines Work” โดยมีเป้าหมายหลักในการมุ่งเน้นการสร้างการรับรู้ และให้ความสำคัญเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน จากที่ WHO ให้ความสำคัญกับเรื่องวัคซีน ทำให้ทุกประเทศ แม้แต่ในประเทศที่ยากจนก็ได้รับการช่วยเหลือ มีเด็กทั่วโลกที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ทั้งวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก, โรคคอตีบ, ไอกรน, บาดทะยัก, หัด, โรคหัดเยอรมัน, โรคคางทูม, โรคไวรัสตับอักเสบเอ, โรคไวรัสตับอักเสบบี, โรคโปลิโอ, โรคอุจจาระร่วง รวมทั้งโรคติดเชื้อนิวโมค็อกคัส ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคร้ายแรงที่เกิดแก่ร่างกาย และคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกเป็นจำนวนมาก โดยในการให้วัคซีนต่างๆ ทำให้เด็กจากทั่วโลกมีโอกาสรอดชีวิตจากการติดโรคต่างๆ ถึงปีละ 2-3 ล้านคน แต่ทั้งนี้ก็ยังพบว่ามีเด็กที่ยังเข้าไม่ถึงวัคซีนปีละประมาณ 19.4 ล้านคน ซึ่งจากการประเมินพบว่า เด็กกลุ่มนี้หากได้รับการเข้าถึงจะสามารถรอดชีวิตได้อีกประมาณ 1.5 ล้านคน

ดังนั้น ในปี 2560 มูลนิธิวัคซีนเพื่อประชาชน ได้ร่วมมือกับสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย สานต่อโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อนิวโมค็อกคัส เพื่อเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อเนื่อง เป็นปีที่ 2 ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันสำหรับเด็กไทย โดยเน้นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสำหรับเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และสมควรได้รับการป้องกันเป็นอันดับแรก นอกจากนี้มูลนิธิฯ พร้อมผลักดันให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่มีต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งในปัจจุบันนับเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลสุขภาพ

“หลายๆ ประเทศยังขาดโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนต่างๆ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่ขาดงบประมาณ แต่ยังขาดการตัดสินใจว่าสิ่งไหนควรให้ความสำคัญ ซึ่งทาง WHO ก็ได้ให้ความสำคัญว่าการจัดหาวัคซีนนั้นเป็นเรื่องที่คุ้มค่าและยั่งยืนในการลงทุน ดังนั้นจึงเห็นว่าประเทศไทยควรให้ความสำคัญ เพราะวัคซีนแม้ว่าจะมีราคาแพง แต่หากมีการใช้แพร่หลายขึ้น ราคาก็จะลดน้อยลง” นพ.มานิตกล่าว

รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี กล่าวว่า ขณะนี้ในเรื่องวัคซีนประเทศไทยมีความล้าหลังประเทศเพื่อนบ้านมาก ด้วยหลายๆ เหตุผล ซึ่งการจัดกิจกรรมในวันสัปดาห์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก ได้ขอความร่วมมือกับบริษัทเอกชน เพื่อจัดหาและส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีเพื่อเด็กจำนวน 5,000 โดส โดยจะครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยในปีแรกได้ส่งให้แก่โรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 จังหวัด แต่ในปีนี้ได้มีการเพิ่มเข้ามา 2-3 จังหวัด ซึ่งการที่ส่งใน รพ.ที่มีผู้เชี่ยวชาญนั้น เพื่อให้แพทย์พิจารณาถึงเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดทั่วประเทศ รวมถึงพื้นที่ห่างไกล

“โรคไอพีดีจากการติดเชื้อนิวโมค็อกคัสนั้น มักเกิดขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 7-8 ขวบ แต่อายุหลังจากนั้น หากมีโรคประจำตัวก็มีความเสี่ยงอยู่ โดยเชื้อจะติดอยู่ที่คอ และจะสามารถลุกลามเข้ากระแสเลือดหรือสมอง ทำให้เยื้อหุ้มสมองอักเสบถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นแม้ว่าจะยังไม่ครอบคลุมเด็กทั้งหมด ก็ถือเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการร่วมกันป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวในเด็ก ซึ่งก็เป็นการกันไว้ดีกว่าแก้” รศ. (พิเศษ) นพ.ทวีกล่าว

และว่า ในขณะนี้ยังไม่สามารถกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมเด็กทั่วประเทศได้ แต่หากมีการใช้วัคซีนดังกล่าวมากขึ้น เชื่อว่าจะทำให้ต้นทุนต่ำลงเหมือนกับวัคซีนตัวอื่น เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ที่ในอดีตก็มีราคาสูงมากเช่นกัน

ที่มา : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility