แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

แนะกิน “กล้วยน้ำว้าดิบ” ยับยั้งโรคท้องร่วง – โรงพยาบาลราชวิถี

แนะกิน “กล้วยน้ำว้าดิบ” ยับยั้งโรคท้องร่วง

  • -

แนะกิน “กล้วยน้ำว้าดิบ” ยับยั้งโรคท้องร่วง

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กล้วยน้ำว้าดิบ

อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แนะผลไม้ที่มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง สมุนไพรรสฝาดมีสารแทนนิน มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า

นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน พบว่าประชาชนมักจะป่วยด้วยโรคท้องร่วง สาเหตุเนื่องจากรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีเชื้อโรคปนเปื้อน จึงแนะนำตำรับยาแผนไทยที่ประชาชนควรมีไว้ประจำบ้าน หรือพกติดตัวไว้ใช้เมื่อเกิดอาการท้องร่วง คือ ตำรับยาที่ใช้สมุนไพรรสฝาดซึ่งสมุนไพรส่วนใหญ่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เช่น ยาธาตุเด็กและยามันทธาตุ ใช้แก้อาการท้องเสียร่วมกับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดมวนท้อง แก้บิดมูกเลือด ยาธาตุบรรจบและยาเหลืองปิดสมุทร ใช้แก้อาการท้องเสียชนิดไม่ติดเชื้อและท้องเสียชนิดไม่มีไข้ ยามหาจักร ใช้แก้อาการท้องเสียชนิดติดเชื้อ เช่น อุจจาระมีสีเขียว กลิ่นบูดเปรี้ยวเป็นฟอง

นพ.ปราโมทย์กล่าวอีกว่า สำหรับผลไม้ที่มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง สมุนไพรรสฝาดมีสารแทนนิน มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า โดยเลือกใช้ผลดิบ นำมาหั่นและตากแห้ง หลังจากนั้นให้บดเป็นผงแป้ง ใช้ในปริมาณ 10 กรัมต่อครั้ง ชงดื่มแก้อาการท้องร่วง วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องร่วง ส่วนใหญ่อาการจะหายได้เองโดยการรักษาอาการขาดน้ำและเกลือแร่ ด้วยการดื่มน้ำมากๆ ในระหว่างท้องร่วงให้รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด ฯลฯ และไม่ควรงดอาหาร หรือรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด

“การป้องกันจากโรคท้องร่วงนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด ปราศจากแมลงวันตอม หรือสัมผัสกับฝุ่นละออง หากต้องการเก็บอาหารที่เหลือจากรับประทาน ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และนำมาอุ่นร้อนทุกครั้งก่อนรับประทาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่คุ้นเคย เช่น อาหารทะเลบางชนิด ผักและผลไม้ควรล้างให้สะอาดก่อนรับประทานทุกครั้ง ดื่มน้ำสะอาด ต้มสุก หากต้องดื่มน้ำนอกบ้าน ควรเลือกดื่มน้ำเปล่าที่ใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ฝาปิดผนึกเรียบร้อย และควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร รับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ” นพ.ปราโมทย์กล่าว

ที่มา : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility