แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

แนะตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า ป้องกันไฟไหม้ – โรงพยาบาลราชวิถี

แนะตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า ป้องกันไฟไหม้

  • -

แนะตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า ป้องกันไฟไหม้

แนะตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า ป้องกันไฟไหม้ thaihealth

กระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตือนช่วงฤดูร้อนมีความเสี่ยงต่อการ เกิดเพลิงไหม้สูง พร้อมแนะประชาชนร่วมป้องกันเพลิงไหม้

โดยกำจัดวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง เก็บแยกสารเคมีที่ติดไฟง่ายให้ห่างจากแหล่งความร้อน เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน จัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่ปลอดภัย ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัยอยู่เสมอ ไม่เสียบปลั๊กไฟหลายอันกับเต้าเสียบเดียวกัน ปิดสวิตช์ไฟและถอดปลั๊กทุกครั้งหลังใช้งาน ไม่จุดยากันยุงหรือจุดธูปเทียนทิ้งไว้โดยไม่มีผู้ดูแล รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งานก๊าซหุงต้มและประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้

ายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฤดูร้อนเป็นช่วงที่มีสถิติการเกิดเพลิงไหม้สูง เนื่องจากสภาพอากาศร้อน แห้งแล้ง และลมพัดแรง เมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟจึงลุกลามอย่างรวดเร็ว และยากต่อการควบคุม โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุจากความประมาท ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งแต่ละครั้งที่เกิดเพลิงไหม้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย

โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะวิธีป้องกันเพลิงไหม้ ดังนี้ จัดสภาพแวดล้อมบ้านให้ปลอดภัย โดยกำจัดวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง จัดเก็บสารเคมีที่ติดไฟง่ายให้ห่างจากแหล่งความร้อน ไม่วางสิ่งของกีดขวางประตู ทางออกฉุกเฉิน และบันไดหนีไฟ เลือกใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีราคาถูกและอยู่ในสภาพชำรุด เพราะเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ จัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่วางใกล้แหล่งความร้อน วัสดุที่ติดไฟง่าย และสารไวไฟ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับความร้อนและมีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ ควรวางในจุดที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกและระบายความร้อนได้ดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับน้ำ มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ และอยู่ด้านนอกอาคาร เพราะเสี่ยงต่อการชำรุดเสียหายได้ง่าย ส่งผลให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี

ไม่เปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับความร้อน และมีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ ไม่เสียบปลั๊กไฟหลายอันกับเต้าเสียบเดียวกัน พร้อมปิดสวิตช์ไฟและถอดปลั๊กไฟทุกครั้งหลังใช้งาน เพื่อป้องกันความร้อนสะสม ก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ เพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ โดยไม่จุดยากันยุง หรือธูปเทียนทิ้งไว้โดยไม่ดูแล ดับไฟก้นบุหรี่ให้สนิทก่อนทิ้ง ไม่เผาขยะหรือหญ้าแห้งบริเวณที่มีวัสดุติดไฟง่ายและเสี่ยงต่อการเกิดไฟลุกลาม และใช้งานก๊าซหุงต้มด้วยความระมัดระวัง โดยตรวจสอบถังก๊าซให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ วาล์วถังก๊าซ สายยาง หรือท่อนำก๊าซไม่มีรอยรั่ว จัดวางถังก๊าซให้ห่างจากบริเวณที่มีประกายไฟ รวมถึงปิดวาล์วถังก๊าซทุกครั้งหลังใช้งาน ทั้งนี้ อัคคีภัยป้องกันได้ หากทุกคนร่วมกันใส่ใจ และเพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับไฟ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้

ที่มา : www.naewna.com

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility