แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

“น้ำแข็ง-ไอศกรีม”ไม่สะอาด เสี่ยงท้องร่วง – โรงพยาบาลราชวิถี

“น้ำแข็ง-ไอศกรีม”ไม่สะอาด เสี่ยงท้องร่วง

  • -

“น้ำแข็ง-ไอศกรีม”ไม่สะอาด เสี่ยงท้องร่วง

“น้ำแข็ง-ไอศกรีม”ไม่สะอาด เสี่ยงท้องร่วง thaihealth

“อย.” แนะประชาชนให้ระมัดระวังการบริโภคน้ำดื่ม น้ำแข็งและไอศกรีม อาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์จากการผลิตและเก็บรักษาอาหารที่ไม่สะอาด ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและโรคอุจจาระร่วง ควรเลือกซื้อน้ำดื่มน้ำแข็ง ที่มีภาชนะบรรจุที่สะอาดและปิดสนิท มีฉลากแสดงรายละเอียดครบถ้วน เพื่อความปลอดภัย

นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ทำให้น้าดื่ม น้ำแข็งและไอศกรีม กลายเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมของผู้บริโภค เพื่อช่วยดับกระหายและคลายร้อน แต่เพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะที่ดีของผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการกำกับดูแลและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพราะหากขั้นตอนการผลิตและ การเก็บรักษาที่ไม่ดี อาจเกิดการปนเปื้อนและการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างรวดเร็ว ซึ่งเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ และมักพบบ่อยในช่วงหน้าร้อน ได้แก่ เชื้อซัลโมเนลล่า, วิบริโอ, อีโคไล และสแตฟฟิโลคอคคัส ออเรียส เป็นต้น อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และโรคอุจจาระร่วง

“ขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการเลือกซื้อน้ำดื่ม น้ำแข็งและไอศกรีม ในช่วงหน้าร้อนเป็นพิเศษ โดยการเลือกซื้อน้้าดื่ม ควรเลือกภาชนะบรรจุที่สะอาดและปิดสนิท ไม่รั่วซึมหรือมีรอยสกปรก ไม่มีร่องรอย การเปิดใช้ ลักษณะของน้ำที่บรรจุอยู่ต้องใสสะอาด ไม่มีตะกอน ไม่มีสี กลิ่น รสที่ผิดปกติ โดยร้านค้าที่จ้าหน่าย ต้องไม่วางน้าดื่มตากแดดและไม่เก็บน้ำดื่มในที่ร้อน กรณีน้้าแข็งควรสังเกตรายละเอียดบนฉลากให้ครบถ้วน และต้องมีข้อความว่า “น้าแข็งใช้รับประทานได้” ด้วยตัวอักษรสีน้าเงิน โดยถุงที่ใช้บรรจุต้องสะอาด ปิดผนึก แน่นหนา ไม่ฉีกขาด และน้ำแข็งต้องใสสะอาด ไม่มีคราบ สี หรือกลิ่นที่ผิดปกติ ไม่มีฝุ่นผงหรือสิ่งแปลกปลอมในก้อนน้ำแข็ง

นอกจากนี้ผู้บริโภคควรสังเกตสถานที่เก็บและภาชนะที่บรรจุน้าแข็ง ซึ่งต้องถูกสุขลักษณะ ไม่มีการใส่น้าแข็งปนกับอาหารประเภทอื่น สำหรับไอศกรีม ภาชนะบรรจุต้องสะอาดและปิดสนิท ไม่ฉีกขาด สังเกตได้จากการที่ไม่มีไอศกรีมรั่วซึมออกมา และตัวไอศกรีมต้องไม่มีสี กลิ่น รส ที่ผิดปกติ และไม่เหลวหรือมีลักษณะเหมือนเคยละลายมาแล้ว” รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าว

นพ.พูลลาภ กล่าวต่อว่า  การเลือกซื้อน้้าดื่ม น้้าแข็งและไอศกรีม ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงรายละเอียดครบถ้วนชัดเจน เช่น ชื่อที่ตั้งสถานที่ผลิต เครื่องหมาย อย. พร้อมเลขสารบบอาหาร 13 หลัก วันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน หาก อย. ตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะดำเนินการตามกฎหมาย โดยจัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน ระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และจัดเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ รองเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดที่พบปัญหา เพื่อ อย. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะร่วมมือกันเฝ้าระวังตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้ผู้บริโภคทั่วประเทศ

ที่มา : เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility