แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

ผ่าตัดเสริมหน้าอกไม่เกี่ยวเกิด “มะเร็งเต้านม” – โรงพยาบาลราชวิถี

ผ่าตัดเสริมหน้าอกไม่เกี่ยวเกิด “มะเร็งเต้านม”

  • -

ผ่าตัดเสริมหน้าอกไม่เกี่ยวเกิด “มะเร็งเต้านม”

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะเร็งเต้านม

ศัลยแพทย์ตกแต่ง ย้ำ ผ่าตัดเสริมเต้านม ไม่เกี่ยวข้องเกิด “มะเร็งเต้านม” แต่พบข้อมูลจาก อย. สหรัฐฯ สำรวจคนเสริมเต้านม 5 – 10 ล้านคน พบเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรอบเต้านมเทียม เพียง 200 กว่าคน ไม่มั่นใจสัมพันธ์หรือไม่ ให้ศัลยแพทย์ทั่วโลกช่วยเก็บข้อมูล

นพ.วิษณุ โล่ห์สิริวัฒน์ ศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสร้าง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการศัลยกรรมเสริมเต้านมทำให้เกิดโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ในงานเสวนา “สุดยอดนวัตกรรมด้านศัลยกรรมตกแต่ง จริงหรือลวง เลือกอย่างไรให้ปลอดภัย” เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ปัจจุบันมีข้อสรุปแล้วว่าการศัลยกรรมเสริมเต้านม ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งเต้านมตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น เพราะพบว่าผู้ที่มีการเสริมเต้านมกับผู้ที่ไม่ได้ทำ มีอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมไม่ได้ต่างกันเลย อย่างไรก็ตาม ก่อนศัลยกดรรมเสริมเต้านมไม่ใช่ว่าจะทำได้เลย แต่ผู้เชี่ยวชาญต้องมีการตรวจประเมินเต้านมผู้มารับบริการก่อนว่า “เต้านม” มีความผิดปกติหรือไม่ มีโรคอะไรซ่อนอยู่หรือไม่ หากพบความผิดปกติต้องทำการรักษาโรคเดิมก่อน โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมาก่อน โดยทั่วไปแนะนำให้ตรวจอัลตราซาวนด์ หรือแมมโมแกรมดูพื้นฐานของหน้าอก

 “บางคนบอกว่าหน้าอกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ หรือบางคนปัญหาอาจเกิดจากกระดูกไม่เท่ากัน หรือบางคนมีภาวะกระดูกสันหลังคดโดยไม่รู้ โดยทั่วไปผู้หญิงอายุเกิน 40 ปี แนะนำให้ตรวจอัลตราซาวนด์ หรือแมมโมแกรม เพื่อดูพื้นฐานหน้าอกว่ามีอะไรหรือไม่ เวลาไปศัลยกรรมอย่าวิ่งไปคลินิกแล้วบอกว่า จะเอาเท่านั้นเท่านี้ซีซี แต่ควรปรึกษาว่าหน้าอกเป็นอย่างนี้ต้องทำอย่างไร บางคนอาจจะเหมาะกับแค่การยกกระชับก็ได้ ดังนั้น การผ่าตัดไม่ใช่การใส่อะไรก็ได้ แต่ตรวจโรค ตรวจขนาด ทรง และเลือกโมเดล” นพ.วิษณุ กล่าว

ด้าน รศ.นพ.อภิชัย อังสพัทธ์ หัวหน้าหน่วยศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง และหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม้การเสริมเต้านมจะไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม แต่เมื่อปี 2559 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้มีการเฝ้าระวังกลุ่มผู้ที่ทำศัลยกรรมเสริมเต้านมประมาณ 5-10 ล้านคน ในสหรัฐอเมริกา ว่า มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณที่มีการเสริมเต้านมเทียมหรือไม่ ซึ่งพบว่ามีการเกิดโรคขึ้นประมาณ 200 กว่าคน แต่เป็นแบบไม่แพร่กระจายและไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ส่วนใหญ่ทำมานาน 15 – 20 ปี ซึ่งถือว่าการเกิดขึ้นน้อยมาก และไม่มั่นใจว่า มีความสัมพันธ์กันจริงหรือไม่ จึงขอความร่วมมือไปยังศัลยแพทย์ตกแต่งทั่วโลกให้ตรวจสอบและเฝ้าระวังในกลุ่มคนที่มีเสริมเต้านมเทียมและรายงานเพื่อทำการศึกษาต่อไป ส่วนประเทศไทยยังไม่เคยพบมาก่อน แต่สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย ได้แจ้งให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ และกำชับให้ตรวจสอบและเฝ้าระวังเช่นกัน โดยวิธีสังเกตคือเกิดการอักเสบ บวม แดง เป็นต้น ถ้าพบความผิดปกติก็ขอให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะอาจจะมีการติดเชื้ออย่างอื่นก็ได้

ที่มา : manager.co.th

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility