แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

กระดูกทับเส้น…หายยาก ? – โรงพยาบาลราชวิถี

กระดูกทับเส้น…หายยาก ?

  • -

กระดูกทับเส้น…หายยาก ?

กระดูกทับเส้น...หายยาก ? thaihealth

โรคกระดูกทับเส้นเกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง ข้อต่อและเส้นเอ็นยึดข้อต่อ กระดูกสันหลังมีการทรุดตัว เส้นเอ็นหนาตัว กระดูกมีหินปูนเกาะทำให้หนาตัว เป็นสาเหตุให้โพรงกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นที่อยู่ของไขสันหลังและประสาทไขสันหลังตีบแคบลง เมื่อโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ กระดูกสันหลังจึงมีโอกาสกดทับไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังได้ง่าย

ถ้าโพรงนี้ตีบแคบไม่มาก จะเกิดการกดทับไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังเป็นครั้งคราวเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย แต่ถ้าตีบแคบมาก อาจกดทับตลอดเวลา โรคกระดูกทับเส้นอาจจะเกิดที่กระดูกสันหลังส่วนใดก็ได้ ที่พบบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลังส่วนเอว ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของขา และควบคุมการขับถ่าย

คนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกทับเส้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. อายุ โรคนี้มักเกิดกับคนที่อายุเลยวัยกลางคนขึ้นไป ยิ่งอายุมาก มีโอกาสเป็นมากขึ้น

2. สภาพร่างกาย คนที่กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังไม่แข็งแรง คนที่น้ำหนักตัวมากเกินไป มีโอกาสเป็นมากขึ้น

3. การประกอบอาชีพ อาชีพที่ต้องทำงานหนัก โดยเฉพาะการยกของหนัก การทำงานที่ต้องก้มๆ เงยๆ การขับรถทางไกลเป็นประจำ การทำงานกับเครื่องจักรที่สั่นสะเทือน มีโอกาสเกิดความเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังเร็วขึ้น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนได้ง่ายขึ้น

4. การสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่มีผลต่จจัยเสี่ยงต่างๆ

การป้องกันที่ดีคือหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ 

เรื่องอายุเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การดูแลสุขภาพที่ดี แม้กระดูกจะเสื่อมไปตามวัย แต่อาจไม่เกิดการตีบแคบของโพรงกระดูกสันหลังและเกิดการกดทับเส้นประสาทที่รุนแรง การฝึกการใช้ร่างกาย การใช้ท่าทางในการทำงานที่เหมาะสม การฝึกบริหารกล้ามเนื้อ เป็นการป้องกันที่ดี ที่ทุกคนพึงปฏิบัติ

ที่มา: มูลนิธิหมอชาวบ้าน

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility