แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

อ้วนกลม ระทมไต – โรงพยาบาลราชวิถี

อ้วนกลม ระทมไต

  • -

อ้วนกลม ระทมไต

อ้วนกลม ระทมไต thaihealth

เนื่องด้วย “ภาวะไตเสื่อม โรคอ้วน” ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้อยลง และอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ยังสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงระลิ่ว ดังนั้น การรู้เท่าทัน การให้ความใส่ใจกับสุขภาพไต การตรวจคัดกรอง การรู้ปัจจัยความเสี่ยง ย่อมช่วยลดการเสื่อมของไต และลดภาวะโรคอ้วนได้

รศ. นพ.เกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันอุบัติการณ์ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไต มีเพิ่มมากขึ้น โดยพบประมาณ 11 ล้านคน หรือร้อยละ 17 ของประชากร และในจำนวนดังกล่าว ประมาณ 60,000 คนอยู่ในภาวะไตเรื้อรัง แถมมีอัตราเพิ่มขึ้นปีละ 10,000 คน ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไตได้ เช่น การรับประทานอาหารรสเค็ม รสจัด อาหารที่มีโปรตีนมากเกินไป หรือการใช้ยาแก้ปวดต่างๆ อย่างยาแก้ปวดกระดูก ยาแก้ยอก ยาชุด รวมถึงยาหม้อติดต่อกันเป็นเวลานาน

นอกจากนั้น โรคอ้วน ซึ่งเป็นพื้นฐานของกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ล้วนส่งผลต่อการเกิดโรคไตเสื่อมก่อนเวลาทั้งสิ้น ดังนั้น การรู้เท่าทัน การคัดกรองโรคไต รวมถึงการลดภาวะความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะช่วยลดภาวะโรคไตเสื่อมได้ ซึ่งทุกคนอาจสังเกตอาการเบื้องต้น ดยดูจากปัสสาวะของตนเอง หากมีเลือด หรือเป็นฟอง ควรมาตรวจกับแพทย์ เพราะปัสสาวะปกติของคนเราจะไม่มีฟอง หากมีฟองเป็นไปได้ว่าโปรตีนรั่ว เกิดจากไตที่มีความผิดปกติ หากคัดกรองโรคได้เร็วก็จะรักษาได้ทันถ่วงที

“โรคไตหากเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การที่บอกว่าสะเต็มเซลล์สามารถรักษาโรคไตให้หายขาดได้นั้น ไม่เป็นความจริง แต่ผู้ป่วยโรคไต สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการลดความอ้วน ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรได้รับการดูแล รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น หากมีจ้ำๆ ตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุก็อาจเป็นโรคไตได้”รศ.นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว

อาการเบื้องต้น เมื่อเป็นโรคไต

1.บวม

2.ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่ น้ำล้างเนื้อ แสบขัด

3.การถ่ายปัสสาวะปริมาณน้อย

 4.ความดันโลหิตสูง และ5.ซีด อ่อนเพลีย

ป้องกันอย่างไรเมื่อโรคไตถามหา

1.ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง

2.หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสเค็ม รสหวาน รสมัน รสจัด

3.หลีกเลี่ยง การใช้ยา และสารพิษต่างๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาปฎิชีวนะ เช่น เจนตามันซิน คานามัยซิน เป็นต้น

4.หลีกเลี่ยงการกลั่นปัสสาวะนานๆ หรือการสวนปัสสาวะ และ5.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

ศ.เกียรติคุณ พญ.ธัญญารัตน์ ธีรพรเลิศรัฐ อายุรแพทย์โรคไต รพ.ศิริราชฯ กล่าวว่า ความอ้วนทำให้เกิดโรคภัยมากมาย โดยเฉพาะโรคไต เพราะความอ้วนทำให้ไตมากขึ้น เนื่องจากร่างกายของคนเราต้องมีการขับของเสีย ซึ่งจะถูกกำจัดทางปัสสาวะ ถ้าเราเปรียบไตเป็นโรงงาน การกำจัดของเสียของโรงงานคนอ้วนกับคนน้ำหนักปกติ โรงงานคนอ้วนต้องทำงานมากข้น และเมื่อทำงานมากย่อมพังเร็ว หรือเสื่อมเร็วขึ้น ดังนั้น ทุกคนไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเป็นโรคอ้วน เบื้องต้นควรตรวจสอบร่างกายของตนเอง ตรวจปัสสาวะ ถ้ามีปัญหาเรื่องโปรตีนรั่วหรือไม่ ถ้ามีโปรตีนรั่วเล็กน้อย แสดงว่าไตเริ่มมีปัญหา ต้องรักษา

“ความอ้วนไม่ได้มีผลดีต่อร่างกาย ประชาชนควรใส่ใจสุขภาพ ดูแลร่างกายของตนเอง ออกกำลังกาย และหากรู้ว่าตนเองมีภาวะเสี่ยงโรคไต ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ให้น้อย ทานผัก ผลไม้ ให้มากขึ้น เช่น วุ้นเส้น สาคู เป็นต้น

“ไต” ทำหน้าที่ขับน้ำและของเสียจากเลือดออกนอกร่างกาย ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ ควบคุมการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายที่ควบคุมความดันโลกเห็น สร้างเม็ดเลือดแดง และการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งเมื่อเราอ้วน การทำงานของไตย่อมต้องใช้งานอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดภาวะไตเสื่อม ไตอักเสบ ไตเรื้อรัง และไตวาย รักษาไม่หาย และเสียชีวิตได้

ศ.เกียรติคุณ พญ.วรรณี นิธิยานันท์ อายุรแพทย์โรคต่อมไร้ท่อ กล่าวว่า ภาวะอ้วน ไม่ได้หมายถึงคนตัวใหญ่ แต่หมายถึงรอบเอว หรือรอบพุง ดัชนีมวลกาย ที่คำนวณออกมาแล้วบ่งบอกว่าอ้วนหรือไม่ ตอนนี้คนไทยมีอัตราเป็นโรคอ้วรมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถพบ คนอ้วน

1 ใน 3 และผู้หญิงเป็นโรคอ้วนมากกว่าผู้ชาย อีกทั้งไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยที่มีผู้ป่วยอัตราโรคอ้วนมากขึ้นแต่เป็นปัญหาเรื่องใหญ่ที่มีการพูดกันทั่วโลก เนื่องจากการรณรงค์ต่างๆ ไม่ค่อยได้ผล เช่น การรณรงค์คนไทยไร้พุง ขณะนี้มีคนไทยประมาณ มี 20 กว่าล้านคนมีพุง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถลดภาวะโรคอ้วนได้นั้น เกิดจากสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ชีวิตของผู้คนที่อยู่กับมือถือ คอมพิวเตอร์มากกว่าจะเคลื่อนไหวร่างกาย

พฤติกรรมของคน ทำให้พวกเขาไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งการที่คนเราไม่เคลื่อนไหวร่างกาย แม้ตอนนี้เราจะไม่อ้วน หรือไม่เป็นโรคอ้วน แต่ตามปกติของร่างกายจะมีการสร้างกล้ามเนื้อได้น้อยลง ฉะนั้น หากเราไม่เคลื่อนไหว สร้างกล้ามเนื้อ ไขมันในตัวก็จะมากขึ้น ทุกคนควรออกกำลังกาย ทำให้กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น หรือคงอยู่เท่าเดิม และการกินน้อย อยู่เฉยๆ ไม่ใช่การแก้ปัญหา ทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหาร 3มื้อ หากทุกคนกินแล้วให้เดิน 15 นาที อย่านั่ง วันหนึ่งเราจะออกกำลัง 45 นาที ก็จะช่วยลดภาวะโรคอ้วน ภัยที่นำไปสู่โรคอื่นๆ ได้

ขณะที่คุณป้า อายุ 65 ปี เข้าร่วมงานครั้งนี้ ว่าผู้สุงอายุควรเข้าร่วมคักรองโรคไต เพราะต่อให้เป็นโรคที่ไม่ติดต่อกัน แต่หากเป็นก็ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ ซึ่งวันนี้ที่มาตรวจ พบว่า ตนไม่มีภาวะโรคไต แต่กำลังเข้าสู่โรคอ้วน เนื่องจากน้ำหนักเกิน และได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเอง ไม่รับประทานขนมหวาน น้ำหวาน หรือของที่มีรสจัด รสเค็ม ซึ่งความรู้เหล่านี้ บางทีถ้าเราก็มองข้าม และรับประทานอาหารทุกอย่าง กำลังกายก็ไม่ออก เมื่อได้รับคำแนะนำได้นำไปดูแลตัวเอง

การดูแลผู้ป่วยโรคไต โรคอ้วน จะสำเร็ตได้ ต้องได้รับความร่วมมือจาก 3 กลุ่ม คือ ผู้ป่วย แพทย์ และสังคมที่ผู้ป่วยอยู่ด้วย เพราะการใช้ชีวิตเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคไต รักษาได้ดีขึ้นหรือแย่ลง ขณะเดียวกัน เมื่อโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ไม่ให้โรคไตรุนแรงขึ้น ต้องช่วยกันไม่ให้ตัวเอง “อ้วนกลม เป็นแหล่งสะสมโรค และประคองภาวะไตของตนเอง

ทั้งนี้ โรคไตวายเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่ชะลอการเสื่อมไตได้โดยลดอาหารประเภทโปรตีน และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปกติ

ที่มา : www.komchadluek.net

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility