แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

20 วิธี หลีกหนีจากโรคมะเร็งในชีวิตประจำวัน – โรงพยาบาลราชวิถี

20 วิธี หลีกหนีจากโรคมะเร็งในชีวิตประจำวัน

  • -

20 วิธี หลีกหนีจากโรคมะเร็งในชีวิตประจำวัน

20-วิธี-หลีกหนีจากโรคมะเร็งในชีวิตประจำวัน---feat

“ในชีวิตนี้ คุณอาจจะไม่ต้องเผชิญกับโรคมะเร็ง” ประโยคนี้สามารถเป็นจริงได้หากคุณมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี “สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง 70% มาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้” นี่คือคำพูดของรองผู้อำนวยการ Thomas A.Sellers จากสถาบันป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง Moffitt Cancer Center ในแทมปา โดยสิ่งที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งประกอบไปด้วย พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการลดการสูบบุหรี่ งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เปิดเผยพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

โรคมะเร็ง

1. การกรองน้ำประปา

วิธีนี้จะช่วยลดการรับสารก่อมะเร็ง และสารเคมีที่จะส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนในร่างกาย ประธานสถาบันโรคมะเร็งได้กล่าวถึงวิธีที่จะลดการได้รับสารก่อนมะเร็งที่ทำได้ที่บ้าน นั่นก็คือการกรองน้ำประปาดื่มแทนน้ำจากขวด เพราะน้ำจากขวดนั้นไม่ได้มีคุณภาพที่สูงกว่าน้ำประปามาก หรือสำหรับบางกรณียังมีคุณภาพที่ต่ำกว่าน้ำประปาที่มาจากเทศบาลด้วย จากการศึกษาโดยคณะการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมบอกว่า การบรรจุน้ำไว้ในภาชนะสแตนเลส หรือแก้วสามารถลดการรับสารเคมีปนเปื้อน เช่น สาร BPA จากขวดพลาสติกได้

2.การถอดหัวปั๊มเติมน้ำมันออกจากถัง

สำงานปกป้องสิ่งแวดล้อม และประธานสถาบันโรคมะเร็งกล่าวว่า ในตอนท้ายที่จะปิดหัวสูบน้ำมันจะมีแก๊สส่วนหนึ่งเข้าสู่รถ ซึ่งอาจทำให้เกิดการรั่วไหลของเชื้อเพลิง และเกิดการทำลายระบบของหัวสูบไอน้ำ ซึ่งสารเคมีจากน้ำมันเบนซินที่ลอยออกมาในอากาศเป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังและปอดได้

การถอดหัวปั๊มเติมน้ำมันออกจากถัง มะเร็ง

3.การหมักเนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์ที่ไหม้ หรือเนื้อสัตว์ที่สุกก็สามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ เพราะการปรุงเนื้อสัตว์ด้วยอุณหภูมิสูงจะก่อให้เกิดสาร Heterocyclic amines (HCAs) และอาหารที่ไหม้จะก่อให้เกิดสาร Polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) โดย Cheryl Lyn Walker อาจารย์ผู้สอนเรื่องการเกิดโรคมะเร็ง ที่มหาวิทยาลัยแพทย์ Anderson Cancer Center ในเท็กซัสได้ให้ข้อแนะนำว่า “ควรลดการย่างเนื้อสัตว์ที่ยังมีความแข็งอยู่” และจากการวิจัยของ Kansas State University บอกว่าถ้าคุณย่างเนื้อสัตว์ โดยมีการใส่โรสแมรี่ ใบโหระพา และหมักอาหารไว้เป็นชั่วโมงก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดสาร Heterocyclic amines (HCAs) ลงได้ถึง 87%

4.การได้รับคาเฟอีนทุกวัน

จากงานวิจัยเกี่ยวกับคาเฟอีนพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 5 แก้วขึ้นไป สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งสมองได้เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ดื่มในปริมาณที่น้อย และจากการศึกษาของอังกฤษในปีค.ศ. 2010 พบว่าการดื่มกาแฟ 5 แก้วต่อวันช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งที่ปากและลำคอได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งการดื่มกาแฟสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ดีกว่าการดื่มชาอีกด้วย

การได้รับคาเฟอีนทุกวัน

5.การดื่มน้ำ

American Cancer Society ให้คำแนะนำว่าการดื่มน้ำสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งปริมาณน้ำที่ควรดื่มนั้นอยู่ที่ 8 แก้วต่อวัน โดยที่น้ำจะเข้าไปเจือจากสารก่อมะเร็งในปัสสาวะ ถือเป็นการช่วยทำความสะอาดกระเพาะปัสสาวะไม่ให้มีสารตกค้างได้รวดเร็วขึ้น

6.การบริโภคผักใบเขียว

คลอโรฟิลด์ในผักใบเขียวนั่นอุดมไปด้วยแมกนีเซียมที่มีส่วนช่วยในการลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้หญิงได้ Walker ได้กล่าวว่า “แมกนีเซียมจะทำการกระตุ้นไปยังเซลล์ในร่างกายให้รักษาสมดุลของเซลล์ไว้ในปริมาณที่เหมาะสม” เพียงการบริโภคผักโขมแค่ครึ่งถ้วยก็สามารถได้รับแมกนีเซียมถึง 75 มิลิกรัม หรือคิดเป็น 20% ของปริมาณที่ควรได้รับในหนึ่งวัน

การบริโภคผักใบเขียว มะเร็ง

7.เมล็ดบราซิลนัต (Brazil Nuts)

จากงานวิจัยของ Dartmouth Medical School พบว่า เมล็ดบราซิลนัตอุดมไปด้วยซีลีเนียม (Selenium) และสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะของผู้หญิงได้ นอกจากนี้ซีลีเนียมอาจจะไม่เพียงแค่ป้องกันเซลล์จากอันตราย แต่ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยในการสร้างเกล็ดเลือดอีกด้วย

8.ออกกำลังกาย สลายความเสี่ยง

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้จากการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ที่เป็นตัวสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนไปกระตุ้นการเกิดมะเร็งเต้านม โดยการออกกำลังกายแค่เล็กน้อย เช่น การเดิน 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ถึง 18%

ออกกำลังกาย สลายความเสี่ยง มะเร็ง

9.เลิกเข้าร้านซักแห้ง

ในปีค.ศ. 2010 สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสถานบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้เปิดเผยว่า ในร้านซักแห้งจะใช้สารละลาย Perchloroethylene ในการทำความสะอาดเสื้อผ้า ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในตับ และมะเร็งในไต รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วย โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือพนังงานซักผ้าที่มือต้องสัมผัสกับสารเคมีนั้นโดยตรง และสารนั้นก็อาจจะติดมากับเสื้อผ้าด้วย แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่ได้ข้อสรุปว่าผู้ที่เข้าใช้บริการร้านซักแห้งมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นหรือไม่ แต่ทางเลือกที่ดีที่สุดก็คือการซักเสื้อผ้าด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์อ่อนๆ และตากไว้ให้แห้ง หรือหากมีคราบเลอะก็ให้ใช้น้ำส้มสายชูในการทำความสะอาดแทน

10.หมั่นตรวจสอบเต้านม

จากงานวิจัย ผู้หญิงที่ทำ Mammograms หรือการตรวจหามะเร็งเต้านม พบว่าผู้หญิงที่มีความหนาแน่นของเต้านม 75% ขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงที่มีความหนาแน่นของเต้านมต่ำ 4 – 5 เท่า หนึ่งในทฤษฎีที่ทำให้เต้านมของผู้หญิงมีความหนาแน่นสูงนั้นเนื่องมาจากปริมาณของการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยลดปัญหาดังกล่าว Walker ได้กล่าวว่า “การลดปริมาณไขมันในร่างกายมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการเจริญเติบโต ทำให้เกิดการกระตุ้นโปรตีนจำพวก Adipokines และฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายให้หยุดการกระตุ้นการเกิดเซลล์มะเร็ง”

หมั่นตรวจสอบเต้านม มะเร็ง

11.การใช้มือถือ

ประธานสถาบันโรคมะเร็งให้รายงานว่า การใช้มือถือควรใช้แค่ในระยะเวลาไม่นาน โดยอาจใช้เป็นการส่งข้อความ หรือใช้อุปกรณ์ Hands-free เป็นตัวช่วยแทน สิ่งที่สำคัญคือต้องพยายามให้มือถืออยู่ไกลจากศีรษะมากที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับคลื่นความถี่ที่ถูกปล่อยออกมา จุดนี้เป็นข้อแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสมองได้ชัดเจน แม้ว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่นอนก็ตาม

12.หยุดมะเร็งด้วยสีสัน

นักวิทยาศาสตร์ชาวเสปนกล่าวว่า การเลือกเสื้อผ้าที่จะใส่ออกไปนอกบ้านก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ จากงานวิจัยของพวกเขาพบว่า ผ้าสีน้ำเงินและสีแดงสามารถป้องกันรังสี UV จากดวงอาทิตย์ได้ดีว่าผ้าสีขาวและสีเหลือง แต่ก็ต้องอย่าลืมที่จะใส่หมวกด้วย เพราะมะเร็งผิวหนังอาจจะเกิดที่ส่วนใดของร่างกายก็ได้

หยุดมะเร็งด้วยสีสัน

13.ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์

จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในซานฟรานซิสโก พบว่าแพทย์ที่มีประสบการณ์มากว่า 25 ปี จะมีความแม่นยำและชำนาญในการตรวจโรค ลองสอบถามบันทึกการตรวจทางรังสีวิทยาจากพวกเขาดู ถ้าหากผลออกมาว่าปลอดภัยก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจด้วย Mammograms และหลังจากการนั้นก็ควรที่จะเข้ารับการตรวจอีกครั้งเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

14.บริโภคอาหารที่สะอาด

ประธานสถาบันโรคมะเร็งได้ให้คำแนะนำในการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่ไม่ใส่ยาปฏิชีวนะและฮอร์โมน เพราะอาจเป็นสาเหตุให้ต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ รวมถึงการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังแนะนำให้บริโภคอาหารที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมงด้วย โดย Sellers ได้ให้ข้อมูลว่า “ในยาฆ่าแมลงมีสารก่อมะเร็งอยู่อย่างน้อย 40 ชนิด และแน่นอนว่าเราควรเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงนั้น”

บริโภคอาหารที่สะอาด มะเร็ง

15.การตรวจสอบกรดโฟลิค

วิตามินบีเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แต่ก็มีผลที่ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็ง โดยการบริโภควิตามินบีที่มากจนเกินไปจะส่งผลกระทบให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ รวมถึงมะเร็งปอด และมะเร็งต่อมลูกหมากให้เพศชายอีกด้วย

16.บริโภคแคลเซียม

Dartmouth Medical School ได้ทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง 822 คน โดยให้บริโภคแคลเซียม 1,200 มิลิกรัมในทุกๆวัน พบว่านมเป็นส่วนประกอบหลักที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยผู้ที่บริโภคแคลเซียมติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปี จะสามารถลดการเติบโตของมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 36%

การตรวจสอบกรดโฟลิค มะเร็ง

17.บริโภคธัญพืช

ทุกคนย่อมรู้ดีว่าการบริโภคขนมปังโฮลวีทนั้นดีกว่าขนมปังขาว โดยถ้าคุณบริโภคน้ำตาลในปริมาณมาก ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ จากการศึกษาของ Harvard Medical School พบว่าปัญหาที่มากที่สุดเกิดมาจากการบริโภคอาหารที่มีการฟอกขาว เช่น ขนมปังขาว พาสต้า มันฝรั่ง และขนมอบ อีกทั้งอาหารที่มีปริมาณของน้ำตาลน้อยก็จะมาพร้อมกับเส้นใยอาหารที่ดีต่อร่างกาย

18.ให้ความสนใจกับอาการเจ็บปวด

คุณกำลังมีปัญหาพุงป่อง เจ็บกระดูกเชิงกราน และอั้นปัสสาวะไม่ได้หรือไม่ ถ้าคุณกำลังมีอาการเหล่านี้ก็ควรที่จะพบแพทย์ได้แล้ว เพราะนั่นเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่ โดยเฉพาะถ้าเกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและบ่อยครั้ง จะเป็นการดีถ้าหากว่าเรารู้ตัวก่อนที่มะเร็งจะแพร่กระจายออกนอกรังไข่ แต่ผู้หญิงและแพทย์หลายคนมันจะมองข้ามอาการเหล่านี้ไป ทำให้มีโอกาสที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ซึ่งจากอัตราการรอดชีวิตจากโรคมะเร็งรังไข่ใน 5 ปี พบว่ามีอัตราการรอดชีวิตลดลงไปถึง 90 – 95%

ให้ความสนใจกับอาการเจ็บปวด มะเร็ง

19.หลีกเลี่ยงการทำสแกนที่ไม่จำเป็น

Barton Kamen หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของ Leukemia & Lymphoma Society กล่าวว่า การทำซีทีแสกนเป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยที่ได้ผลดี แต่มันก็มาพร้อมกับการที่ร่างกายของเราจะต้องได้รับรังสีในปริมาณที่มากยิ่งกว่าการเอ็กซเรย์ ซึ่งปริมาณของรังสีที่มากสามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โดยนักวิจัยชี้ให้เห็นว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เข้ารับการตรวจ จริงๆแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำซีทีแสกนเลย อย่างไรก็ตามลองปรึกษาแพทย์ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำการแสกนหรือไม่ และอาจถามถึงการตรวจในรูปแบบอื่นที่อาจจะทดแทนได้

20.ลดน้ำหนักลง 10 ปอนด์

จากบันทึกเกี่ยวกับผู้ที่ทำการลดน้ำหนักหรือลดความอ้วนของ American Cancer Society พบว่า มีผู้หญิงเพียง 20% และผู้ชายเพียง 14% ที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง นอกจากนี้การลดน้ำหนักยังช่วยลดการผลิตฮอร์โมนในเพศหญิง ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งมะลูก และมะเร็งรังไข่ได้ (ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมคือ 25 – 29.9 หากมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไปจะจัดอยู่ในระดับของคนอ้วน)

 

 

ที่มา : https://somanao.com

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility