แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

ประโยชน์ของอาหารที่มีไฟเบอร์สูงกับการลดความอ้วน – โรงพยาบาลราชวิถี

ประโยชน์ของอาหารที่มีไฟเบอร์สูงกับการลดความอ้วน

  • -

ประโยชน์ของอาหารที่มีไฟเบอร์สูงกับการลดความอ้วน

ไขมันและน้ำตาลนั้นทำให้อาหารมีรสชาติที่ดี ซึ่งนั่นทำให้คนเรานั้นกินอาหารที่มากเกินไป และนำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกิน ข่าวดีก็คือ การทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงสามารถช่วยต้านทานอาหารที่ทำให้อ้วนเหล่านี้ได้ นั่นเพราะว่า อาหารที่มีไฟเบอร์สูงสามารถเปลี่ยนการตอบสนองของสมองต่ออาหารที่มีแคลอรี่สูงได้

ไฟเบอร์นั้นมีอยู่ด้วยกันสองรูปแบบคือ แบบละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ร่างกายของเราสามารถย่อยสลายไฟเบอร์ที่ไม่ละลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย แต่ไม่สามารถย่อยสลายไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้เลย แต่แบคทีเรียในลำไส้สามารถทำได้โดยผ่านกระบวนการหมัก ในระหว่างที่เกิดการหมักของไฟเบอร์ แบคทีเรียในลำไส้จะปล่อยกรดไขมันสายโซ่สั้นออกมา ซึ่งกรดไขมันเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งของไขมัน

“หนึ่งในกลุ่มกรดไขมันเหล่านั้น เรียกว่า propionate ซึ่งสามารถส่งผลกระทบได้ว่า คนเรานั้นกินเข้าไปมากแค่ไหน” Gary Frost กล่าว เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารและโภชนาการที่ Imperial College London ในประเทศอังกฤษ เมื่อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ย่อยอาหารที่มีไฟเบอร์ที่ละลายน้ำสูง พวกมันสามารถที่จะปล่อย propionate ออกมาได้

ในการศึกษาปี 2014 ทีมวิจัยของ Frost ผลิตอาหารเสริมที่สามารถให้ปริมาณของ propionate ได้ในระดับสูงบริเวณลำไส้ใหญ่ เมื่อทีมวิจัยได้ให้อาหารเสริมเหล่านี้กับผู้ร่วมลดทอง คนเหล่านั้นจะมีพฤติกรรมการกินอาหารเปลี่ยนไป พวกเขาจะทำการลดปริมาณแคลอรี่ลง สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นคือ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าคนที่กินอาหารเสริมนี้เข้าไปจะมีน้ำหนักลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม เขาเพิ่มเติมว่า “พวกเราก็ยังไม่รู้เหตุผลว่าทำไม”

Frost ได้ร่วมมือกับ Tony Goldstone เพื่อค้นหาคำตอบ Goldstone ทำงานที่ Imperial College London ซึ่งเขามีความเชี่ยวชาญทางด้านสมองและพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทั้งสองคนต้องการที่จะรู้ว่า propionate นั้นเปลี่ยนวิธีการกินอาหารโดยการปรับกิจกรรมบางอย่างภายในสมองได้อย่างไร

ในการทำสิ่งนี้ พวกเขาทำการเลือกผู้ชายที่มีสุขภาพดีจำนวน 18 คน แต่ละคนจะมาที่ห้องทดลองของมหาวิทยาลัยก่อนรับประทานอาหารเช้า ทีมวิจัยจะทำการให้ผู้ชายเหล่านั้นรับประทานอาหารก่อนมื้อเช้าซึ่งประกอบไปด้วยไฟเบอร์ที่ละลายน้ำ ครึ่งหนึ่งของอาหารเช้ายังประกอบไปด้วยอาหารเสริมที่มี propionate ของ Frost อีกด้วย สามชั่วโมงหลังจากนั้น พวกผู้ชายจะได้รับแซนวิชชีสและของกินเล่นเป็นอาหารกลางวัน หกชั่วโมงหลังจากนั้นที่เริ่มรับประทานอาหารเช้าไปแล้ว พวกเขาจะได้รับอาหารมื้อที่สาม ในเวลานี้ พวกเขาจะถูกเชิญให้รับประทานอาหารให้มากที่สุดเท่าที่พวกเขาจะต้องการ ในกลุ่มที่ได้รับ propionate เข้าไปในอาหารเช้าจะรับประทานอาหารได้น้อยว่า ประมาณ 10% ของอาหารในมื้อที่สาม

ผลการทดลองได้ตีพิมพ์ไว้ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ American Journal of Clinical Nutrition

การเปลี่ยนแปลงของสมอง

หลังจากรับประทานอาหารเช้าไปห้าชั่วโมง นักวิจัยได้ทำการแสกนสมองของเหล่าผู้ชายที่ร่วมการทดลองนี้ พวกเขาใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า MRI มันใช้แม่เหล็กความแรงสูงในการวัดการเปลี่ยนของของออกซิเจนในเส้นเลือดขนาดเล็กของสมอง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมของสมองในพื้นที่เหล่านั้น แต่นักวิจัยไม่ได้ทำการวัดแค่เพียงครั้งเดียว พวกเขาทำการแสกนทั้งหมดอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผู้ร่วมทดลองทำการดูชุดของภาพ ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า fMRI (functional magnetic resonance imaging)

บางรูปนั้นแสดงให้เห็นถึงอาหารที่มีแคลอรี่สูง เช่นเค้ก ช็อกโกแลต หรือพิซซ่า บางรูปนั้นเป็นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ เช่น สลัด ผัก หรือปลา รูปอื่น ๆ แสดงถึงสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเช่น เสื้อผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ ในแต่ละภาพ ผู้ชายเหล่านั้นจะต้องทำการให้คะแนนเต็มห้าว่ามันน่าดึงดูดอย่างไรในแต่ละรูป หลังจากผ่านไปหนึ่งชั่วโมงในเครื่อง MRI ผู้ร่วมทดลองจะมานั่งทานอาหารที่เป็นพาสต้ากัน

ผู้ชายที่ได้รับอาหารเสริมที่มี propionate เข้าไปในส่วนของอาหารเช้าจะให้คะแนนอาหารที่มีแคลอรี่สูงน้อยกว่าผู้ร่วมทดลองที่ไม่ได้รับอาหารเสริม พื้นที่ของสมองที่มีความสัมพันธ์นั้นจะมีการกระตุ้นที่น้อยลงในกลุ่มคนที่ได้รับอาหารเสริม แต่สิ่งนี้จะเป็นจริงเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่สูงเท่านั้น ในส่วนของอาหารอื่น ๆ เช่นอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำจะมีการตอบสนองของสมองที่เหมือนกัน

ที่มา:

Journal: C.S. Byrne et al. Increased colonic propionate reduces anticipatory reward responses in the human striatum to high-energy foods. American Journal of Clinical Nutrition. Published online May 11, 2016. doi: 10.3945/ajcn.115.126706.

Journal: E.S. Chambers et al. Effects of targeted delivery of propionate to the human colon on appetite regulation, body weight maintenance and adiposity in overweight adults. Gut. Published online December 10, 2014. doi: 10.1136/gutjnl-2014-307913.

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility