แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

รู้จักโรค “ฮีโมฟีเลีย” – โรงพยาบาลราชวิถี

รู้จักโรค “ฮีโมฟีเลีย”

  • -
54719938 - hemophilia positive

รู้จักโรค “ฮีโมฟีเลีย”

ที่มา: www.siamrath.co.th

54719938 - hemophilia positive

โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียพบเมื่อ 2,000 ปีก่อนและเป็นที่รู้จักกันว่าโรคที่สืบทอดทางสายเลือด อุบัติการณ์ของโรคนี้ในประเทศไทยเท่ากับ 1 ต่อ 13,000  ของประชากร

ฮีโมฟีเลียมี  2  ชนิด คือ โรคฮีโมฟีเลีย เอ  เกิดจากการขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่มีชื่อเรียกว่า แฟคเตอร์แปด และโรคฮีโมฟีเลีย บี มีอาการแสดงและการสืบทอดโรคทางพันธุกรรมเหมือนกัน

แต่โรคฮีโมฟีเลีย เอ พบได้บ่อยกว่าโรคฮีโมฟีเลีย บี ถึง 5 เท่า ผลของโรคทั้ง 2 ชนิด ทำให้เลือดแข็งตัวช้าและเลือดออกภายในร่างกาย

ส่วนความรุนแรงของโรค แบ่งออกเป็น 3  ระดับ ได้แก่

1.รุนแรงมาก คือ มีแฟคเตอร์ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์  ผู้ป่วยจะมีเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อได้เอง  โดยไม่ได้รับอุบัติเหตุหรือมีอะไรมากระทบกระทั่ง

2.รุนแรงปานกลาง มีระดับแฟคเตอร์ 1-5 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยจะมีเลือดออกในข้อและกล้ามเนื้อเมื่อได้รับอุบัติเหตุ เพียงเล็กน้อย หรือมีอะไรกระแทก

3.รุนแรงน้อย มีระดับแฟคเตอร์ 5-40 เปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยในระดับนี้อาจจะไม่มีอาการ แต่จะมีเลือดออกมากเมื่อได้รับอุบัติเหตุหรือผ่าตัด หรือถอนฟัน

ผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย จะมีลักษณะที่สังเกตได้ง่าย เมื่อลูกมีอายุตั้งแต่ 6  เดือนขึ้นไป จะมีอาการเป็นจ้ำใหญ่ๆ อยู่บ่อย ๆ

เมื่อเกิดกระทบกระเทือนเล็กๆ น้อยๆ หากเป็นแผล ก็จะเลือดออกง่าย หยุดยาก และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม มักจะเสียชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก

ดังนั้น จึงต้องให้ผู้ป่วยตระหนักรู้ว่าตัวเองเป็นโรค และต้องปรับการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ควบคู่ไปกับการรับแฟคเตอร์เข้มข้นตามคำแนะนำของแพทย์

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility