แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

สัญญาณว่าร่างกายขาดธาตุเหล็ก – โรงพยาบาลราชวิถี

สัญญาณว่าร่างกายขาดธาตุเหล็ก

  • -

สัญญาณว่าร่างกายขาดธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็ก สำคัญกับสุขภาพผู้หญิงมากกว่าที่คิด และหากไม่อยากป่วยเป็นโรคโลหิตจาง หรือมีอาการผิดปกติต่าง ๆ อันเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก สาว ๆ ก็ไม่ควรพลาดสิ่งนี้

exhausted-woman
ถ้าบอกว่าภาวะขาดธาตุเหล็กเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้มากพอ ๆ กับโรคฮิตประเภทอื่น หลายคนก็อาจคาดไม่ถึง และโดยส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิง รวมทั้งกลุ่มคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ด้วยนะคะ ซึ่งหากไม่อยากจะป่วยเป็นโรคโลหิตจาง หรือมีความผิดปกติทางสุขภาพอื่น ๆ ก็ควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะควรหมั่นเติมธาตุเหล็กในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการร่างกายด้วย

ธาตุเหล็ก สำคัญกับผู้หญิงยังไง

เหตุผลที่ธาตุเหล็กมีความสำคัญกับเพศหญิง ก็เพราะผู้หญิงมีโอกาสสูญเสียธาตุเหล็กในร่างกายมากกว่าผู้ชาย ทั้งการมีประจำเดือน ซึ่งเฉลี่ยแล้วต่อเดือนผู้หญิงจะเสียเลือดส่วนนี้ไปประมาณ 50 มิลลิลิตร หรือเท่ากับสูญเสียธาตุเหล็กไปประมาณ 15-30 มิลลิกรัมต่อเดือน และอาจจะมีแนวโน้มสูญเสียธาตุเหล็กมากขึ้นหากสาว ๆ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ หรือในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ร่างกายก็ต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงด้วย

ธาตุเหล็กมากขนาดไหน ที่ร่างกายต้องการ

สำหรับผู้หญิงในวัย 15-50 ปี ควรได้รับธาตุเหล็กประมาณ 15 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรรับธาตุเหล็กให้ได้วันละ 10 มิลลิกรัมก็เพียงพอค่ะ

ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ ควรไปตรวจวัดปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายให้ชัวร์? ๆ เพราะหากไม่ใช่ผู้ที่ขาดธาตุเหล็กอยู่แล้ว การรับประทานธาตุเหล็กเข้าไปเพิ่ม อาจทำให้ร่างกายกำจัดธาตุเหล็กออกไปไม่หมด และส่งผลเสียต่อการทำงานของตับได้

ทว่าจริง ๆ แล้วเราก็สามารถเช็กตัวเองได้ในเบื้องต้น จาก 15 สัญญาณของร่างกายต่อไปนี้ที่ฟ้องว่า เรากำลังขาดธาตุเหล็กอยู่นะ

อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย โดยเฉพาะความรู้สึกเหมือนหมดแรง เหนื่อยใจ เนื่องจากเลือดไม่มีธาตุเหล็กเพียงพอจะสูบฉีดให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้ นั่นเอง

ลิ้นอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ

ลิ้นบวม ตุ่มบริเวณลิ้นหายไป ลิ้นเกลี้ยงเกลามากขึ้น แต่อาจทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก แปรงฟันลำบาก หรือหากลิ้นบวมหนักมากอาจพูดไม่ชัดได้

ประสิทธิภาพของสมองลดลง มีอาการเหม่อลอยบ่อยขึ้น เนื่องจากออกซิเจนในเลือดน้อยเพราภาวะขาดธาตุเหล็ก

ตัวซีด เปลือกตาด้านในซีด บ่งบอกสภาวะโลหิตจาง

ริมฝีปากแห้งแตก โดยเฉพาะบริเวณมุมปาก และอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย จนบางทีไม่สามารถอ้าปากกว้าง ๆ ได้ มีความลำบากในเวลากินอาหาร ตอนยิ้ม หรือแม้กระทั่งตอนเปล่งเสียง

ร่างกายไวต่อเชื้อโรค มีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย

มีอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Leg Syndrome) ต้องสั่นขา เขย่าขาตลอดเวลา เพราะรู้สึกเหมือนมีแมลงมาไต่ขา หรือไม่สั่นขาจะนั่งไม่สบาย

หน้ามืด วิงเวียน โดยเฉพาะเมื่อเดินขึ้นบันได ขึ้นลิฟต์ หรือทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวหนัก ๆ

หายใจติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก โดยเฉพาะขณะทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมาก ๆ

ปวดศีรษะ หนัก ๆ หัว เหมือนสมองไม่โปร่งใส รู้สึกขาดสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
เบื่ออาหาร รู้สึกอยากกินอาหารรสชาติแปลก ๆ เช่น อยากกินดิน อยากกินน้ำแข็ง เป็นต้น

มีดอกเล็บขึ้น เล็บเป็นรูปช้อน หรือหนังเล็บลอก

มือเย็น เท้าเย็น

ใจสั่นได้ง่าย แม้จะแค่เดินในระยะใกล้ ๆ หรือวิ่งระยะสั้น ๆ

หากพบว่าตัวเองมีอาการตรงกับอาการดังกล่าวหลายข้อ ลองไปพบแพทย์เพื่อวัดระดับธาตุเหล็กในร่างกาย หรืออาจเช็กง่าย ๆ จากการไปบริจาคเลือดก็ได้ค่ะ

ทั้งนี้หากแน่ใจจริง ๆ ว่าร่างกายกำลังเรียกร้องหาธาตุเหล็กมาเติมเต็ม คุณสามารถรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กได้ตามนี้

อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

  • เนื้อสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง
  • เลือด
  • ตับ
  • เครื่องในสัตว์
  • ธัญพืช เช่น ซีเรียล ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี
  • แป้ง
  • ไข่แดง
  • อาหารทะเล
  • ปลา
  • เป็ด
  • ไก่
  • ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ผักโขม ผักบุ้ง บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
  • ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ

อย่างไรก็ดี อาหารบางประเภทยังอาจขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายได้ ซึ่งอาหารที่ว่าก็อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลือง ข้าวไม่ขัดสี ชา กาแฟ ซึ่งถ้าต้องการธาตุเหล็กก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ไว้ด้วย

ส่วนอาหารที่จะช่วยเสริมการดูดซึมธาตุเหล็กก็ได้แก่ อาหารอุดมวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง มะละกอ สตรอว์เบอร์รี ส้มโอ กีวี เป็นต้น ซึ่งก็ควรรับประทานอาหารเหล่านี้ระหว่างรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กเข้าไปใช้ได้อย่างสะดวกขึ้นนะคะ

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility