แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

ฝึกสติ บำบัดโรคลดเครียด – โรงพยาบาลราชวิถี

ฝึกสติ บำบัดโรคลดเครียด

  • -

ฝึกสติ บำบัดโรคลดเครียด

การฝึกสติเป็นการพัฒนาจิตใจที่ได้ผลดีและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ สามารถทำได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ช่วยผ่อนคลายความเครียด

นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 15 และประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็ก ครั้งที่ 13 ปี 2559 เน้นประเด็น “สติ วิถีแห่งสุขภาพดี” โดยมีเครือข่ายสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 12 ประเทศเข้าร่วม อาทิ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ศรีลังกา เป็นต้น ว่า สุขภาพที่ดี ต้องดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้ผลสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติล่าสุด ปี 2556 พบว่า คนไทยร้อยละ 1.8 หรือประมาณ 9 แสนคนเป็นโรคซึมเศร้าขณะที่ร้อยละ 3.1 หรือประมาณ 1.6 ล้านคน เป็นโรควิตกกังวล ประกอบกับปัจจุบันประชาชนเริ่มมีความตระหนักและต้องการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะการพัฒนาจิตใจ การฝึกสติจึงเป็นวิธีที่ได้ผลดีค่าใช้จ่ายต่ำและเหมาะสมกับวิถีชีวิตทางสังคม การใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งในการทำงาน สร้างสัมพันธภาพในสังคม และการดูแลสุขภาพ

“สธ.จึงให้ความสำคัญในแนวคิดสติ วิถีแห่งสุขภาพดีที่มุ่งให้สุขภาพดีและอยู่อย่างเป็นสุข ทุกช่วงวัย สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ และสังคม ด้วยการฝึกสติซึ่งมีการศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบว่า การฝึกสติเป็นประจำและสม่ำเสมอจะช่วยป้องกัน บรรเทาและบำบัดอาการเจ็บป่วยได้อย่างหลากหลาย รวมถึงอาการที่เกิดจากความเครียด เช่น ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า พฤติกรรมเสพติดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะอาการปวดเรื้อรัง นอนไม่หลับ ไมเกรน ภูมิแพ้ หอบหืด เป็นต้น” นพ.โสภณกล่าว

ด้าน นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ มุ่งส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต ป้องกันโรคลดความเสี่ยงด้านสุขภาพตลอดจนลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษานั้น เป็นการต่อยอดระบบสุขภาพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ในการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิต จะเน้นการค้นพบผู้ป่วยให้เร็วที่สุดเพราะ 90% ของผู้ป่วยหาที่ค้นพบเร็ว ได้รับการรักษาฟื้นฟู และได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างบุคคลทั่วไป แต่สิ่งที่ต้องพึงระวังคือห้ามให้ผู้ป่วยใช้สารเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการของผู้ป่วยกำเริบได้

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การดูแลปัญหาสุขภาพจิตเด็กและแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงนั้น หลักๆ ที่เห็นชัดเจน คือการที่กรมสุขภาพจิตได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการทำโครงการนำร่องนักจิตวิทยาโรงเรียนเพื่อคอยให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility