แสดงความยินยอมการใช้คุกกี้

เว็บไซต์ของเรามีการใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้นต่อผู้ใช้ ก่อนใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อไป คุณตกลงและยอมรับเว็บไซต์ของเรา นโยบายการใช้คุกกี้

กรมการแพทย์ชี้ “เจาะคอ” อีกหนึ่งวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ควรรู้ – โรงพยาบาลราชวิถี

กรมการแพทย์ชี้ “เจาะคอ” อีกหนึ่งวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ควรรู้

  • -
website

กรมการแพทย์ชี้ “เจาะคอ” อีกหนึ่งวิธีการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ควรรู้

กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลราชวิถี เผยการควบคุมดูแลทางเดินหายใจเป็นการดูแลระบบการหายใจให้ผู้ป่วยปลอดภัยอย่างเหมาะสมกับอาการ โดยแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน แพทย์จะตัดสินใจเลือกวิธีการควบคุมทางเดินหายใจที่เหมาะสมที่สุดในการช่วยชีวิตผู้ป่วยแต่ละรายซึ่งการเจาะคอเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการควบคุมทางเดินหายใจ นอกเหนือจากการใส่ท่อช่วยหายใจ

1561708147552

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การเจาะคอเป็นหัตถการรูปแบบหนึ่ง โดยแพทย์จะผ่าตัดใส่ท่อหลอดลมคอผ่านผิวหนังที่ลำคอ เพื่อสร้างทางติดต่อระหว่างหลอดลมกับผิวหนังบริเวณด้านหน้าของลำคอ ทำให้อากาศสามารถผ่านเข้าสู่ปอดโดยไม่ผ่านช่องจมูกและลำคอส่วนบน เพื่อเป็นการบรรเทาอาการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจส่วนบนหรือในการดูแลเสมหะและป้องกันการสำลักในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานานหรือผู้ป่วยที่มีเสมหะมากไม่สามารถไอออกเองได้ เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยไม่รู้สติ เป็นต้น

%e0%b9%83%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad-%e0%b8%9c%e0%b8%ad2-cc

นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางเลือกในการควบคุมทางเดินหายใจนอกเหนือจากการเจาะคอ ได้แก่ 1.การใส่ท่อช่วยหายใจทางปากหรือจมูก เป็นวิธีที่สามารถทำได้รวดเร็วเพื่อควบคุมทางเดินหายใจของผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน แต่หากผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2 – 3 สัปดาห์ โดยทั่วไปผู้ป่วยควรได้รับการเจาะคอ 2.การเจาะเยื่อระหว่างกระดูก Cricoid และกระดูก Thyroid เป็นหัตถการที่ใช้เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน ในกรณีที่ไม่สามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้ และไม่พร้อมที่จะเจาะคอเนื่องจากมีเวลาจำกัดหรืออยู่ในสถานที่ที่ไม่มีความพร้อมของเครื่องมือ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ปลอดภัยแล้วควรเปลี่ยนเป็นการเจาะคอ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลทางเดินหายใจของผู้ป่วยได้ง่าย ป้องกันปัญหากล่องเสียงและหลอดลมคอตีบแคบ ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ใส่ท่อหลอดลมคอควรดื่มน้ำมากๆ ดูแลร่างกายให้อบอุ่น หลีกเลี่ยงในที่อากาศเย็นหรือแห้งจัดเพื่อป้องกันการเกิดเสมหะอุดตันที่ท่อหลอดลมคอ ไม่คลุกคลีกับคนที่เป็นหวัดเนื่องจากผู้ที่ใส่ท่อหลอดลมคอจะขาดปัจจัยป้องกันตนเองจากเชื้อโรคในอากาศโดยระบบของทางเดินหายใจส่วนบน และระวังน้ำหรือสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าท่อหลอดลม อย่างไรก็ตามหากพบอาการผิดปกติ เช่น ท่อหลอดลมหลุด ท่อชั้นในหาย หรือใส่เข้าไปไม่ได้ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย มีการ ปวด บวม แดง มีหนอง หรือมีเลือดออกจากท่อหลอดลม ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

************************************************

#กรมการแพทย์  #รพ.ราชวิถี  #การเจาะคอ

– ขอขอบคุณ –
18 ธันวาคม 2562

%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%ad

%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%b2

Please follow and like us:

ข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด

Accessibility